วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อองซาน เข้าพบ เฉลิม วอนรัฐช่วยดูแลแรงงานพม่าในไทย

 

นาง อองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่า ทำเนียบรัฐบาล ในฐานะแขกบุคคลสำคัญของที่ประชุมใหญ่เวทีเศรษฐกิจโลกเอเชียตะวันออก หรือ World Economic Forum on East Asia 2012 (WEF) เข้าพบปะพูดคุย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อเวลา 14.00 น.ห้องสีฟ้า ตึกสันติไมตรี เพื่อหารือปัญหาเกี่ยวกับแรงงานและผู้ลี้ภัยพม่าในประเทศไทย พร้อมด้วยนายอาจหาญ, นายวันเฉลิม และร.ต.ท.ดวงเฉลิม อยู่บำรุง
ซึ่ง นาง อองซานได้ขอรัฐบาลไทยให้แก้ไข้ปัญหาผู้ประกอบการไม่เอาใจใส่ดูแลแรงงานพม่า โดยพบว่าผู้ประกอบการได้มีการยึดพาสปอร์ตแรงงานเพื่อเป็นการไม่ให้ แรงงานมีการโยกย้ายจากงาน และเรื่องของการชดเชยเมื่อแรงงานเกิดอุบัติเหตุหรือล้มป่วย ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า แต่ก่อนในอดีตมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นอยู่จริง แต่ในรัฐบาลชุดนี้มีคณะกรรมการเข้ามาควบคุมดูแลเรื่องแรงงานทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยลง แต่วันนี้ผู้ประกอบการจะเป็นฝ่ายกลัวมากกว่า เพราะหากไม่มีแรงงานพม่าแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบการธุรกิได้ เพราะแรงงานไทยตอนนี้ไม่มี ซึ่งส่วนใหญ่แรงงานพม่าจะอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เชียงใหม่ สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องของการดูแลรักษาเมื่อแรงงานเจ็บปวดหรือเกิดอุบัติเหตุนั้น นายกรัฐมนตรีได้มีการสั่งการให้อนุมัติให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งแรงงานที่จะได้รับสิทธิจะต้องมีการพิสูจน์สัญชาติที่ชัดเจน รวมถึงได้รับค่าแรง 300บาท ซึ่งมีผลทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.56 ตนย้ำให้ผู้ประกอบการดูแลสวัสดิการแรงงานในเรื่องของการรักษาพยาบาล และสิทธิ เพราะเราจะเหมือนพี่น้องกัน อาจจะมีข้อบกพร่องปัญหาอยู่บ้างแต่ก็จะพยายามต่อไป ยืนยันจะดูแลแรงงานพม่าให้ดีที่สุด ให้มีปัญหาน้อยที่สุด และจะอนุญาตให้ลูกหลานพม่าได้ศึกษาเล่าเรียน เพราะเชื่อว่า จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี จะเป็นการเชื่อมทางด้านวัฒนธรรม และความเข้าใจระหว่างพ่อแม่กับผู้ประกอบการให้ดีขึ้น เพราะรู้ภาษาไทยมากขึ้น
ในส่วนของผู้ลี้ภัยพม่าที่อยู่ใน 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่พักพิงในระยะสั้น โดยมีอยู่ประมาณ 140,000 คน นั้น ไทยเองต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน นโยบายรัฐบาลชุดนี้ จะให้ที่พักพิงไปจนกว่าสถานการณ์ในพม่าจะดีขึ้น ผู้ลี้ภัยมีความสมัครใจต้องการที่จะกลับไปอย่างมีศักดิ์ศรี เราสัญญา และเดินทางประเทศที่ 3 อย่างเต็มใจ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 48 แล้ว ล่าสุดนายกฯสั่งให้ยึดหลักมนุษยธรรม โดยที่ไทยได้เข้าร่วมกับอีกหลายประเทศมีการคัดกรองผู้ลี้ภัยเพื่อดูพื้นฐานให้นำไปสู่การ พัฒนา ตรวจสอบ คุณสมบัติ ทักษะ เพื่อรัฐบาลจะได้เพิ่มเติมให้สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อม ซึ่งจะมีผลเริ่มในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เพราะรัฐบาลเน้นในเรื่องของการศึกษา เศรษฐกิจ และเท่าที่ดูรัฐบาลพม่าเองก็มีความเข้าใจ และยืนยันรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ จนกว่าประเทศพม่าจะมีความพร้อม และจะเร่งพิสูจน์สัญชาติเพื่อจัดระเบียบแรงงานให้ถูกกฎหมายเพื่อสวัสดิการ ที่ดี
นางอองซาน ได้กล่าว ขอขอบคุณแก่รัฐบาล ที่มีจิตใจที่เมตตากรุณาเรื่องแรงงานพม่า และผู้ลี้ภัย รวมทั้งแรงงานทุกคนให้ความสนใจหากสถานการณ์ในพม่ายุติลงก็จะเรียกแรงงานพม่ากลับ ทั้งหมดนี้ตนจะนำไปแสนอกับแรงงานพม่า ซึ่งแรงงานเหล่านั้นคงดีใจ โดยแรงงานพม่าที่เข้าสู่ประเทศไทย เกิดจากการสู้รบและความไม่สงบในพม่า แต่เชื่อว่า เราสามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี รัฐบาลไทยได้ดูแลผู้ลี้ภัยไม่ต่างอะไรกับประเทศเดนมาร์ค แม้ประเทศไทยป็นประเทศที่เล็กกว่า ซึ่งไทยได้ดูแลผู้ลี้ภัยพม่ามานานแล้ว และเพื่ออนาคตของลูกหลานของเราเองก็ยอมที่จะให้ไปประเทศที่สาม ซึ่งต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่ดูแลการศึกษาให้กับเด็ก เพื่อจะเป็นอนาคตของชาติในวันข้างหน้า ซึ่งเหมือนกับเด็กสามัญทั่วไป มีโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม
v


www.banmuang.co.th

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม