วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทำคะแนนชนะเลิศ ใน

ในภาพยนตร์ยอดฮิตของฮอลลีวูดที่ออกฉายเมื่อเร็ว ๆนี้ หุ่นยนต์ทำสิ่งที่น่าตื่นเต้นต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การต่อสู้ในสนามแข่งมวยจนถึงการช่วยโลกให้ปลอดภัยจากสัตว์ประหลาดที่มารุกราน บริษัทซีเกท เทคโนโลยีกำลังช่วยนิสิต นักศึกษาในประเทศไทย นำวิสัยทัศน์แห่งอนาคตนั้น ให้เข้าใกล้กับความเป็นจริงมากขึ้น โดยบริษัทได้สนับสนุนการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาออกแบบหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการเล่นเกมฟุตบอล

ทีมหุ่นยนต์เตะฟุตบอลฮิวมานอยด์ “หนุมาน เอฟซี (Hanuman FC)” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชนะการแข่งขันในปีนี้ โดยได้รับรางวัลเงินสด 200,000 บาทและเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2013 (World RoboCup 2013) ซึ่งจะจัดขึ้น ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นในช่วงกลางปีหน้า ทีมธัญบุรีต้นกล้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รับรางวัลเงินสด 100,000 บาท ในฐานะรองชนะเลิศอันดับ 1

การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2555 จัดขึ้นโดยบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีนี้ ทีมหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์จำนวน 11 ทีมจาก 8 มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อได้รับโอกาสในการเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2013

“สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยมีความเชื่อมั่นว่า การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทยจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านเทคนิคจากการลงมือปฏิบัติจริงและส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกัน อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในโลกดิจิตอล” ดร. ถวิดา มณีวรรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าว “นิสิต นักศึกษาไทยได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์อันมีค่ากับผู้เข้าแข่งขันด้วยกัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในที่สุด”

“เนคเทคมีความยินดีที่ได้สนับสนุนให้เด็กไทยได้ใช้ความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนมาปรับใช้ในการแข่งขันที่สร้างสรรค์อย่างการแข่งขันที่จัดขึ้นในวันนี้” ดร. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค กล่าว “เราหวังว่าการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์จะเน้นหนักเกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยีในการช่วยพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้า เนคเทคและเครือข่ายงานวิจัยซึ่งเป็นผู้จัดงานในวันนี้ จะช่วยกันผลักดันให้ความฝันของเยาวชนไทยเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”

เราหวังว่าการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์จะเน้นหนักเกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ พร้อมส่งเสริมศักยภาพและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชนไทย”

ปีนี้เป็นปีที่สามที่บริษัทซีเกทเป็นผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทยโดยซีเกทมอบงบประมาณสนับสนุนการแข่งขันในปีนี้ จำนวน 1.7 ล้านบาท

“ผู้คนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วย ความสนุกสนาน การแบ่งปันประสบการณ์ ความท้าทายและการพบกับสิ่งใหม่ ๆ” นายเจฟฟรี่ย์ ดี. ไนการ์ด รองประธานและผู้จัดการประจำประเทศไทย ฝ่ายปฏิบัติการ ประเทศไทยและปีนัง บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “สิ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับผมคือการได้เห็นเยาวชนเหล่านี้ได้พัฒนาและปรับปรุงหุ่นยนต์ของพวกเขาหลังจากการแข่งขันแต่ละแมทช์ นั่นเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการมุ่งเน้นด้านคุณภาพซึ่งเป็นค่านิยมของบริษัทที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงทุกแห่ง”

บทสัมภาษณ์นายวิษณุ จูธารี นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 1 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม สาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมหุ่นยนต์เตะฟุตบอลฮิวมานอยด์ “หนุมาน เอฟซี (Hanuman FC)” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชนะการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2555

1. คิดว่าการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ในปีนี้ ช่วยพัฒนาทักษะของทีมหนุมาน เอฟซี ในด้านใดบ้าง

สมาชิกในทีมของเราในปีนี้เป็นสมาชิกใหม่ทั้งหมดที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการแข่งขันรายการนี้มาก่อน ดังนั้นอาจจะกล่าวเลยได้ว่าเป็นการพัฒนาทักษะแทบทุกด้านในการทำหุ่นยนต์ของสมาชิกในทีมเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์ การออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็ได้มาจากการอบรมสั่งสอนมาจากคณาจารย์และรุ่นพี่ของทางสถาบัน

เวลาในการเตรียมตัวแบบจริงจังก็ประมาณหนึ่งเดือน เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่สมาชิกในทีมทุกคนยังมีภารกิจในห้องเรียนอยู่ครับ เรียนบ้าง ทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) บ้าง ส่ง Class Project บ้าง ก็อาศัยว่า ช่วงไหนพอมีเวลาก็ทำงานเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เรื่อยมา พอใกล้ช่วงแข่งก็เอามารวมกันแล้วทดสอบระบบ

ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ สามารถมองระบบ ได้เป็น 3 ส่วนหลักๆครับ คือ 1.ส่วนของการมองเห็น 2.ส่วนสมอง 3.ส่วนของการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ มาเริ่มกันที่ส่วนแรกส่วนของการมองเห็น ส่วนมากก็จะเป็นพวกกล้องเว็บแคม เพื่อใช้ในการจับภาพต่างๆรอบตัวของหุ่นยนต์ ซึ่งก็คล้ายกับตาของคนเราที่คอยมองว่ารอบตัวของเรามีอะไรอยู่บ้าง และจะส่งภาพที่บันทึกได้ไปประมวลผลที่ส่วนสมอง ซึ่งส่วนสมองก็จะเป็นพวกเครื่องพีซี ขนาดเล็ก ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆและตัดสินใจการทำงานทุกอย่างของหุ่นยนต์ และส่งคำสั่งไปยังส่วนสุดท้ายคือส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ เพื่อสั่งให้หุ่นยนต์เกิดการเคลื่อนไหว

มีเรื่องสำคัญอยู่สามเรื่องหลักๆที่เป็นหัวข้อในการพัฒนา เรื่องแรกเป็นเรื่องการพัฒนาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่และการเข้าตำแหน่งของหุ่นยนต์ที่ต้องมีความเสถียรและรวดเร็วมากขึ้นถึงจะไปสู้กับทีมระดับโลกได้ เรื่องที่สองคือเรื่องการระบุตำแหน่งตัวเองของหุ่นยนต์ว่าที่เวลาปัจจุบันหุ่นยนต์อยู่ตำแหน่งไหนของสนาม และเรื่องสุดท้ายคือการที่หุ่นยนต์ทั้งสามตัวสามารถเล่นเป็นทีมได้ คือ หุ่นยนต์แต่ละตัวต้องรู้ว่าจังหวะไหนควรวิ่งเข้าไปเล่นบอล หรือวิ่งเข้าตำแหน่งเพื่อรอบอลจากเพื่อน

5.ทางทีมมีความคาดหวังมากน้อยเพียงใดสำหรับการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงกลางปีหน้า

สองครั้งที่ผ่านมาที่ทางสถาบันเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก เรายังทำได้ดีที่สุดแค่รอบแปดทีมสุดท้าย การที่จะผ่านเข้ารอบสี่ทีมสุดท้ายนั้นค่อยข้างยากมาก เนื่องจากทีมในระดับโลกที่ผ่านเข้ารอบสี่ทีมอยู่ตลอดนั้นเรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจทางหุ่นยนต์เตะฟุตบอลฮิวมานอยด์เลยก็ว่าได้ ทีมเหล่านี้มีศักยภาพที่สูงมากทั้งกำลังคนและกำลังทุนสนับสนุน ดังนั้นเป้าหมายที่เรายังคงมุ่งหวังอยู่ในปีที่สามก็คือการพยายามที่จะเข้าสู่รอบสี่ทีมสุดท้ายให้ได้

สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลฮิวมานอยด์ถือว่าเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ยากมากที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่ว่าในความยากมันก็มีสนุกและความภาคภูมิที่สูงพอๆกับความยากของมัน การที่เราเป็นนักพัฒนาหุ่นยนต์ แล้วได้เห็นหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของพวกเราแล้วล่ะครับ สิ่งที่สำคัญคือการให้เวลาและความทุ่มเทกับมันและการเก็บองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปได้พัฒนาต่อ การที่ทางสถาบันของผมเป็นทีมชนะเลิศได้เพราะว่าทางสถาบันได้ทำการพัฒนาอยู่หลายปีกว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ดังนั้นอย่าเพิ่งไปท้อแท้ใจ ถ้ายังไม่เป็นอย่างที่เราหวัง ขอจงมีความเพียรพยายามและรักษาเป้าหมายของตนเองไว้ แล้วความสำเร็จจะเกิดขึ้นเอง

สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมหุ่นยนต์อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจในวิทยาการด้านหุ่นยนต์ จัดกิจกรรมการปฏิบัติงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ เป็นศูนย์กลางทางด้านข่าวสารในวิทยาการใหม่ ๆ ของหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยและนักวิชาการเพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาหุ่นยนต์และวิศวกรรมอัตโนมัติ ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ได้ที่ โทร. 0-2889-2138 ต่อ 6446 หรือเว็บไซต์ www.trs.or.th

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งเน้นงานทางด้านการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม (Research Development Design and Engineering : RDDE) ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลักที่สำคัญที่สุดของเนคเทค นอกเหลือไปจากภารกิจทางด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างพื้นฐานทาง ICT ซึ่งเนคเทคได้ดำเนินภารกิจหลักนี้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กรในปี พ.ศ. 2529 มาจนถึงปัจจุบัน มีผลงานจากโครงการวิจัยต่าง ๆ นำไปถ่ายทอดให้กับผู้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.nectec.or.th

ซีเกทคือผู้นำทั่วโลกในด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และโซลูชั่นสำหรับจัดเก็บข้อมูล ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ seagate.com



www.newswit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม