ปิดฉากลงไปแล้วกับงาน World Economic Forum on East Asia ครั้งที่ 21 ที่เปิดโอกาสให้ทั้งรัฐบาลและนักธุรกิจชั้นนำได้พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ในฐานะพาร์ตเนอร์ระดับกลยุทธ์ของงาน World Economic Forum ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อไม่นานมานี้ได้การพบปะพูดคุยถึงรื่อง “World Economic Forum กับผลตอบแทนต่อประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน” กับนางลิน ค็อก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายไท ฮุย หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็น 1 ใน 100 องค์กรที่ได้รับการยอมรับคัดเลือกเป็นพาร์ตเนอร์ด้านกลยุทธ์ ให้ร่วมดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับ World Economic Forum ในการกำหนดการประชุมในระดับอุตสาหกรรม ระดับภูมิภาค รวมทั้ง ระดับนานาชาติ
World Economic Forum on East Asia และ ประโยชน์ต่ออาเซียนและประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมมือกันเพื่อให้กลายเป็นภูมิภาคแห่งกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นมาภายใต้ชื่อ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งมีเป้าหมายประเด็นที่จะทำให้บรรลุผลภายในปี 2558 การจะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายภายใน 3 ปีที่เหลือนั้น ทั้งภูมิภาคอาเซียนจะต้องรวมผนึกกำลังกันทั้งในระดับรัฐและธุรกิจ การประชุม World Economic Forum เป็นวาระที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้มีส่วนช่วยเหลือและเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในภูมิภาคให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้แล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยเจรจาและวิเคราะห์พิจารณาถึงศักยภาพความสามารถของภูมิภาคอาเซียนในด้านต่างๆ ได้แก่ 1.การสร้างเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง 2.พลังงาน 3.ระบบสาธารณสุขเคลื่อนที่ 4.การท่องเที่ยว 5.บริการทางการเงิน 6.เกษตรกรรม ภายใต้ธีมการประชุม “Shaping the Region’s Future through Connectivity” การประชุมในครั้งนี้จึงไม่เป็นเพียงการประชุมระดับภายในภูมิภาคเท่านั้น หากแต่เป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่เล็งเห็นศักยภาพของอาเซียนทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ และด้านภูมิเศรษฐกิจ
นางลิน ค็อก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ประเทศไทย ซึ่งตั้งซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียนมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาครองจากอินโดนีเซีย นับเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะสมสำหรับการเจรจาของผู้นำในภาคการเมือง และภาคการธุรกิจ ในการกำหนดอนาคตของภูมิภาคด้วยกัน ทั้งนี้ ยังเป็นโอกาสให้ร่วมกันกำหนดโมเดลการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการพัฒนาในด้านคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืน
“ในแง่มุมมองเสนอแนะของสถาบันทางการเงิน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเชื่อว่าเศรษฐกิจของอาเซียน จะอาศัยธนาคารในฐานะสื่อกลางทางการเงิน ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมโยงให้มีการถ่ายเทเงินจากผู้ออมไปยังผู้ลงทุนได้สะดวกขึ้น ปัจจุบันเงินฝากในภูมิภาคอาเซียนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากประชากรส่วนหญ่ในภูมิภาคนี้มีระดับรายได้และความมั่นคงสูงเพิ่มขึ้น รายได้ธนาคารใน 4 ตลาดหลักในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย ในขณะที่มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอันดับ 7 ของโลกรองจากสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน บราซิล และสหราชอาณาจักร”
สำหรับประเทศไทย มีตัวเลขที่น่าสนใจคือ เศรษฐกิจของไทยโตเป็นอันดับ 2 (คาดว่าเท่ากับ 373,300 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2012) รองจากอินโดนีเซีย แต่หากพิจารณาจีดีพีที่เป็นด้านการเงิน ไทยกลับตกไปอยู่ลำดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และนั่นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของไทยยังต้องการ ความสนับสนุนจากสถาบันทางการเงินอีกมาก และหาก AEC ให้ความร่วมมือได้ภายในปี 2558 โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเชื่อมั่นว่าธนาคารจะยังรองรับการขยายตัวทางการค้าที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อีกมาก รวมทั้งยังมั่นว่า มูลค่าจีดีพีด้านการเงินของไทยจะยกระดับสูงขึ้น
นายไท ฮุย หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวเผยว่า ขณะนี้ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีสาขาอยู่ใน 9 จาก 10 ประเทศในอาเซียน ซึ่ง ธนาคารสามารถสนับสนุนให้ธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศของลูกค้าดำเนินได้อย่างสะดวก ยิ่งไปกว่านั้นก็ยัง สามารถสนับสนุนให้ลูกค้าขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนได้สำเร็จ ในขณะเดียวกันธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีสาขากว่า 400 แห่งในอาเซียน มีฐานลูกค้ามากกว่า 4 ล้านคน และมี Relationship Managers ให้บริการลูกค้ากว่า 3,200 คน
นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนโยบายความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนที่จะขยายไปสู่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น (อาเซียน+3) ธนาคารได้มีการพัฒนาระบบการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศในสกุลเงินหยวนอีกทั้ง ธนาคารยังมีส่วนสำคัญในการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี และฮานาแบงก์ โดยการออกพันธบัตรในสกุลเงินบาทในประเทศไทย
เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ AEC ทำให้ไทยมีข้อได้เปรียบด้านเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การมีความหลากหลายเศรษฐกิจ และยังมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นโดยการเติบโตของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ อาเซียนยังมีทรัพยากรที่จะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อีกเป็นจำนวนมาก และด้วยความแข็งแกร่งดังกล่าว ทำให้อาเซียนได้รับการจับตามองว่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและเป็นแหล่งการเงินที่สำคัญแห่งใหม่ของโลก
ขณะเดียวกัน อาเซียนมีผลิตภัณฑ์รวม (จีดีพี) คิดเป็นมูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลกรองจากสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น บราซิล เยอรมัน และสหราชอาณาจักร โดยมีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการเงินและธุรกิจ รวมทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ อาเซียนมีแรงงานมหาศาลจากประชากรทั้งสิ้น 600 ล้านคน ดังนั้นด้วยจำนวนประชากรมากถึง 600 ล้านคน และมีจีดีพีของทั้งภูมิภาคเท่ากับ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจของอาเซียนถึงว่าเทียบเคียงได้กับจีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยจุดอ่อนของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการบูรณาการเพื่อสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นักลงทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมากผิดหวังกับ ความล่าช้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประโยชน์ที่ภาคธุรกิจจะได้รับดูเหมือนจะไม่ค่อยมากนัก ทำให้ความพยายามดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนไม่มากเท่าที่ควร และความไม่เท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและระบอบการปกครอง อุปสรรคใหญ่สำหรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ความแตกต่างในเรื่องของรายได้ของประชากร และระบอบการปกครองนับ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษาอีกทั้งประชาชนทั่วไป ต่างเพร้อมและรับมือเพื่อเป็นการเปิดโลกกว้าง รองรับการทำงานในประชาคมอาเซียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น