วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

(Please scroll for English below) 30 พ.ค. 55 กูเกิล ได้โพสต์บทความ...

(Please scroll for English below)

30 พ.ค. 55 กูเกิล ได้โพสต์บทความ "การคุกคามต่อระบบเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตที่มีศักยภาพของประเทศไทย" ขึ้นบน บล็อกกูเกิลประเทศไทย "Official Google Thailand Blog" โดย รอส ลาเจอร์เนส หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก - Posted by Ross LaJeunesse, Head of Public Policy, Asia Pacific

ใจความตอนหนึ่งกล่าวถึง คำพิพากษาคดี "คุก 8 เดือน! บก.เว็บประชาไท ปล่อยโพสต์กระทู้หมิ่นเบื้องสูง ปี 51" ว่าเป็นการใช้ พ.ร.บ. คอมพ์ฯ​ ที่ไม่อาจบ่งชัดว่าผิดหรือถูก เป็นยับยั้งการเกิดของนวัตกรรม และตัดโอกาสการลงทุนในประเทศ ชี้หากมีความโปร่งใสในกฎระเบียบ ระบุให้ชัดเจนกับการดำเนินการกับเนื้อหาที่ไม่ถูกกฎหมาย ประเทศไทยจะก้าวไปข้างหน้าสู่เสรีภาพและการเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ต จะทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า โดยมีข้อความดังนี้

"ธุรกิจนับล้านไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลางหรือขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทยเติบโต เจริญรุ่งเรืองและมีความหวังจากการทำให้ธุรกิจออนไลน์ เรื่องราวความสำเร็จจากอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยที่ผมได้พบเห็นเป็นการบันดาลใจอย่างแท้จริง - จากนักตกแต่งบ้านที่่ใช้เว็บไซต์ฟื้นฟูธุรกิจที่เสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ไปจนถึงผู้ผลิตชุดกีฬาและอุปกรณ์กีฬามวยไทยที่สร้างปรากฎการณ์เผยแพร่วัฒนธรรมที่โดดเด่นของไทยไปสู่ตลาดโลกได้อย่างงดงาม

มีเรื่องราวดีๆ อีกมากมายของคนไทยและธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จจากโลกออนไลน์ในลักษณะนี้ ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างเพียงหยิบมือของศักยภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่อนาคตของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกำลังมีการคุกคามอย่างร้ายแรงอันหนึ่งเกิดขึ้น

วันนี้มีการประกาศคำพิพากษาของคดีหนึ่งที่เกิดขึ้นในศาลไทยที่กำลังวิ่งสวนทางกับความน่าตื่นเต้นของประเทศและบทบาทที่สำคัญที่จะนำมาซึ่งเสรีภาพ การเปิดกว้างและความรุ่มรวยของอินเตอร์เน็ตมาสู่ชีวิต เรื่องย่อๆ ของกรณีนี้คือการที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่เปิดเว็บไซต์ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 8 เดือน โดยให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปี ด้วยข้อหา มีเจตนาจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีข้อความที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีผู้โพสต์ไว้ ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ ซึ่งเธอได้ลบข้อความนั้นออกหลังจากที่เธอรับรู้ การตัดสินจำคุกเธอจากสิ่งที่เธอไม่เคยเขียนส่งสาส์นถึงผู้ประกอบการและนักธุรกิจชั้นนำที่ทำธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ตแพลต์ฟอร์มในประเทศไทยว่าพวกเขาอาจหรือถูกลงโทษอย่างรุนแรงจากการกระทำของผู้ใช้

การตัดสินครั้งนี้เป็นแบบอย่างที่น่ากังวลอย่างมากเพราะว่าอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มหรือที่อ้างถึงบ่อยๆ ว่า “ตัวกลาง” เป็นเครื่องมือและเว็บไซต์ที่พวกเราหลายๆ คนใช้อยู่ทุกวันเพื่อเชื่อมโยงกับเพื่อนฝูง ครอบครัว และลูกค้าทั่วโลก เช่น เครือข่ายสังคม ตลาดออนไลน์และเว็บสนทนาต่างๆ เหล่านี้เป็นฐานรากของเว็บทั้งสิ้น

ลองจินตนาการดูว่าหากพรุ่งนี้บริการออนไลน์ทั้งหลายที่คุณใช้อยู่ปิดลงเพราะว่าเจ้าของบริการเหล่านั้นเกรงการถูกจำคุกเพราะเห็นความเสี่ยงที่มีมากกว่าสิ่งที่จะได้กลับมา เราไม่เพียงแต่จะเสียบริการที่เราชอบหรือต้องใช้งาน เราอาจต้องเสียความสามารถที่จะมีส่วนร่วมกับบทสนทนากับคนทั่วโลก และนั่นเป็นหัวใจและวิญญาณของอินเตอร์เน็ต เชื่อมโยงกับคนทั้งโลก สร้างสรรค์นวัตกรมและรับประสบการณ์จากโอกาสที่มีอยู่ในหลายๆ ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจดิจิตอลประกอบอยู่อย่างแนบแน่น

อินเตอร์เน็ตเชื่อมเราเข้ากับความคิดของเรา เสรีภาพและการเปิดกว้างของอินเตอร์เน็ตทำให้เรามั่นใจว่าความคิดที่ยอดเยี่ยม ความคิดที่จุดประกายให้เกิดนวัตกรรมและมีศักยภาพในการเปลี่ยนโลกของเราไปสู่โลกที่ดีกว่าจะมีพื้นที่ให้คนได้เห็น ให้ได้ยินและให้ได้แบ่งปัน

บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ไม่ถูกลงโทษจากบทสนทนาของผู้ใช้โทรศัพท์ ในขณะเดียวกันเจ้าของเว็บไซต์ที่มีความรับผิดชอบไม่ควรได้รับการลงโทษจากความเห็นของผู้ใช้ที่ไปโพสต์บนเว็บไซต์นั้นๆ แต่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กำลังถูกใช้เพื่อการนี้

พ.ร.บ. คอมพ์ฯ​ ยับยั้งการเกิดของนวัตกรรมและตัดโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีคนที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ เราเข้าใจดีว่าเรื่องนี้ไม่่ใช่เรื่องธรรมดาๆ เรื่องนี้ซับซ้อนและหลายๆ ครั้งก็ไม่อาจชี้ชัดไปได้ว่าผิดหรือถูก แต่หากมีความโปร่งใสในกฏระเบียบเกี่ยวกับการระบุให้ชัดเจนและการดำเนินการกับเนื้อหาที่ไม่ถูกกฎหมายประเทศไทยจะก้าวไปข้างหน้าสู่เสรีภาพและการเปิดกว้างของอินเตอร์เน็ต และนั่นเป็นการช่วยให้คนไทยหลายล้านคนตั้งแต่เจ้าของกิจการขนาดเล็ก นักเรียน นักศึกษาไปถึงข้าราชการเชื่อมโยงกับคนทั้งโลกได้ และช่วยระบบเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไป

Google มุ่งมั่นกับประเทศไทยและผู้ใช้ชาวไทย เราปรารถนาที่จะอยู่ในประเทศไทยในระยะยาว และเราหวังที่จะเห็นอนาคตอันสดใสที่ให้เราทั้งหมดได้เชื่อมโยงกัน"

----------

Millions of small, medium and large businesses across Thailand have found growth, prosperity and hope by going online. The Internet success stories I have seen from Thailand have been truly inspiring - from the home decorator who used the web to rebuild his business after the floods, to the maker of customized Muay Thai gear that found a global market for one-of-a-kind pieces of Thai culture.

There are many more stories just like these, of Thai people and businesses finding success online, and this is just the tip of the iceberg of Thailand’s potential - but, unfortunately, a serious threat has emerged to the future of the Internet in Thailand.

Today, a decision was made in a Thai courtroom that runs counter to the country's exciting and important role in bringing a free, open and prosperous Internet to life. To summarise the case quite simply - a Thai woman who runs a website has been fined and sentenced to eight months in prison (though that sentence has been suspended) for offensive comments left on her site by users, comments that she removed once notified. Though she was only convicted on one of ten counts, convicting her for something she never wrote sends a clear message to the entrepreneurs and business leaders who run Internet platforms in Thailand that they can and will be penalized for the independent actions of users.

The precedent set by this decision is deeply concerning because Internet platforms, often referred to as ‘intermediaries’ - basically, the tools and sites many of us use every day to connect with friends, family and customers around the world, such as social networks, online marketplaces and web forums - are the foundation of the web.

Imagine if tomorrow your favorite online services decide to shut down because their owners, fearing prison time, start seeing the risks as far outweighing potential returns. We would not just lose the services we love or rely on, we would lose our ability to connect with the world, to innovate and to experience the opportunities available in countries that embrace the digital economy.

The Internet connects us and our ideas. A free and open Internet ensures that great ideas, the ones that spark innovation and have the potential to change our world for the better, have a platform to be seen, heard and shared.

Telephone companies are not penalized for things people say on the phone and responsible website owners should not be punished for comments users post on their sites. Unfortunately, Thailand’s Computer Crimes Act is being used in this case to do just that.

The Computer Crimes Act stifles innovation and deters investment in a country and a people full of potential. We understand this is not simple. It is complicated and it is often not black and white. But if there were transparent rules about how to identify and react to unlawful content, Thailand will have a more free and open Internet and in doing so, allow millions of Thais, from small business owners to students to civil servants, to connect with the world and grow the Thai economy.

Google is committed to Thailand and our Thai users. We are here for the long term. And we look forward to a future that keeps all of us connected.

----------

โดย รอส ลาเจอร์เนส หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก - Posted by Ross LaJeunesse, Head of Public Policy, Asia Pacific

----------

(หมายเหตุ : ที่มา : http://googlethailand.blogspot.com/2012/05/threat-to-potential-of-thailands.html#!/)

----------



www.komchadluek.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม