รายการที่นำเสนอความหลากหลายทางชาติพันธุ์ "พันแสงรุ้ง" ในช่วงนี้อยู่ระหว่างการแพร่ภาพสารคดีชุด "ภูฏานดินแดนมังกรหิมาลัย" ซึ่งเป็นความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสกับโทรทัศน์ภูฏาน ทีมงานที่ร่วมกันครั้งนี้จึงมีทั้งทีมงานป่าใหญ่ ร่วมกับฝ่ายต่างประเทศไทยพีบีเอสและเจ้าหน้า ที่ทางสถานีโทรทัศน์ภูฏาน แต่ละคนต่างก็มีประสบ การณ์อันหลากหลายพัทธมน รุ่งชวาลนนท์ เดินทางร่วมทีมในนามฝ่ายต่างประเทศไทยพีบีเอส กล่าวว่า ภูฏานอาจเป็นประเทศในฝันของใครหลายๆ คน แต่ความประทับใจกลับเป็นการได้ร่วมงานกับทีมงานพัน แสงรุ้ง ซึ่งทุกคน "อิน" และทุ่มเทกับงานสุดๆ ซึ่งการทำงานในพื้นที่ต่างวัฒนธรรมในเวลาอันจำกัด การผิดแผนเป็นเรื่องธรรมดา ความราบรื่นไม่ต้องคิดถึง แต่ทุกคนเตรียมพร้อมทุกสถานการณ์ ช่วยเหลือ ส่งต่อ รับช่วงกัน ทุกคนเก็บทุกเม็ด เป็นทีมที่จัดเต็มเพราะเต็มเปี่ยมด้วยความรักในงาน ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ มิตรภาพ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ประสบการณ์ครั้งนั้นจึงเป็นทั้งความทรงจำและแรงบันดาลใจให้วุ้นอยากสร้างสรรค์งานดีๆ ร่วมกันต่อไปกรรมา เดมา โปรดิวเซอร์รายการเด็กของโทรทัศน์ภูฏาน ส่งเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตมาว่า การถ่ายทำรายการในภูฏานเป็นไปด้วยดีแม้ว่าจะมีอุปสรรคมากพอสมควร การทำงานกับทีมงานป่าใหญ่ทำให้ฉันมองได้เห็นภูฏานจากมุมมองของคนไทย นับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากที่ได้ทำงานร่วมกับทีมงานมืออาชีพมากๆด้าน นิรมล เมธีสุวกุล เล่าว่า เป็นการทำงานที่สนุกมาก ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และมีจังหวะชีวิตที่น่าตื่นเต้นเพราะได้ร่วมสังเกตการณ์วันราชาภิเษก ได้เดินทางลึกเข้าไปในวิถีเทือกหิมาลัย รับรู้ความเป็นไปและเรื่องราวต่างๆ ของคนภูฏานทั้งอดีตและปัจจุบัน แถมยังได้ลายเซ็นของพระราชาธิบดีจิกมี เคซัง นัมเกล วังชุก เป็นที่ระลึกแห่งการเดินทางอันมีค่าครั้งนี้ด้วยหลังจากมีคนทำสารคดีภูฏานมาเยอะแล้ว ในมุมมองแบบพันแสงรุ้งมีวิธีเลือกประเด็นอย่างไร นิรมลกล่าวว่า ก่อนจะไปภูฏานก็ศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย แม้แต่กลุ่มเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก เราก็ตั้งคำถามเล่นๆ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในรายการว่า ใครอยากรับรู้ หรือรู้จักภูฏานในด้านใดบ้าง...ความคิดเห็นมาตรึม ปรึกษานักวิชาการ นักคิด พอสมควร แบกประเด็นข้ามประเทศไปหลังแอ่น"ที่สำคัญคือ เวลาที่เดินทางไปไม่ได้มาก มายนัก มีภารกิจหลายอย่าง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่มีงานราชาภิเษกสมรสพระราชาธิบดี จึงต้องทำทั้งงานพิธีทางการและงานประเด็นเชิงลึกไปพร้อมกัน ฐานความคิดหลักคือ จะทำอย่างไรให้คนไทยรู้จักภูฏานในแง่มุมความเป็นมนุษย์ วิถีของคนที่อยู่บนเทือกหิมาลัยซึ่งสภาพธรรมชาติ ทรัพยากร ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความเชื่อ ที่แตกต่างออกไป หรือมีอะไรที่เหมือนเรา"สารคดีชุดนี้ที่ผ่านมาเผยแพร่เรื่องศาสนาวัชรยานที่เชื่อมโยงจากฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ อำนาจเหนือธรรมชาติ ไปจนกระทั่งเรื่องสถาปัตยกรรม ระบำหน้ากาก และเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ แม้จะเป็นประเด็นแตกต่าง แต่อยู่ภายใต้แกนหลักคือมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ และคลี่คลายเป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมเชื่อมโยงมาสู่ปัจจุบันรายการพันแสงรุ้งมีลักษณะพิเศษเสมอในทุกตอนคือ จะเชื่อมโยงรากเหง้าดั้งเดิมและไม่ลืมนำประเด็นต่างๆ เข้าสู่ความร่วมสมัย ปัญหาปัจจุบัน ให้ผู้ชมเชื่อมโยงความรู้หรือเรื่องเล่าของเรามาสู่สิ่งที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ เช่น เรื่องวิถีเกษตรของภูฏาน นำเสนอเรื่องวิถีเกษตรดั้งเดิมโบราณที่อาศัยน้ำฟ้าอ้อนวอนพลังเหนือธรรมชาติ ภูตผี จิตวิญญาณในดิน น้ำ ฟ้า ให้ช่วยดูแลพืชผล ดลบันดาลให้มนุษย์รอดพ้นจากหายนะ ได้เก็บเกี่ยวข้าวและผลผลิตต่างๆ ไปได้ด้วยดีสําหรับสองตอนสุดท้ายจะออกอากาศภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะจบลงที่ชุด "ผ้าภูฏาน" เป็นเรื่องเกี่ยวกับผ้าในสังคมภูฏาน และอีกตอนหนึ่งเชื่อมโยงผ้าจากภูฏานมาสู่ดินแดนไทย เคยได้ยินว่าผ้าภูฏานมีหลากหลาย และบางชิ้นบางแบบคล้ายคลึงกับผ้าในประเทศไทย จึงตั้งใจจะไปชม และพบโดยไม่ต้องค้นหามากมาย แค่เดินเข้าไปในร้านขายผ้าก็เจอผ้าทอลวดลายบางอย่างที่ทำให้คิดถึงคนไทลื้อและคนกะเหรี่ยง มีความคล้ายคลึงกันมากจนน่าแปลกใจ"อัตลักษณ์ของกลุ่มผู้คนมีหลายอย่างนะ ภาษา วิถีเกษตร ความเชื่อ บ้าน อาหารการกิน ศาสนา ประวัติศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม และที่สำคัญเห็นก่อนอื่นเลยคือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเครื่องนุ่งห่ม โจทย์ที่เราสนใจก็คือเรื่องอัตลักษณ์ด้านนี้ด้วย แล้วพอไปเห็น อื้อฮือ โอ้โฮ ไม่ทำเรื่องนี้ได้ยังไง ทุ่มเทเวลาไปมากโขทีเดียว ผ้าเขาสวยมากค่ะ มีคุณค่า มีเอกลักษณ์ มีความประณีตงดงามและสำคัญมาก คนภูฏานมีผ้าอยู่ในทุกหนทุกแห่งโดยเฉพาะสะท้อนความเชื่ออย่างแรง ไม่ว่าจะเป็นผ้าที่ประดับในวัด ในบ้าน ในเนื้อตัวผู้คน แม้แต่ลามะหรือพระเณรยังต้องเรียนวิชาเกี่ยวกับการเย็บปักตัดผ้าเลย" นิรมลกล่าว
www.khaosod.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น