สมาคมวิทยุสมัครเล่น จ.ภูเก็ต ชี้วิทยุสมัครเล่นพระเอก ยามเกิดภัยพิบัติ เผย กสทช. ตื่นตัวช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเข้ากลีบเมฆ ขณะที่ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เข้าบอร์ดใหญ่ 18 ก.ค.นี้...ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยามเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ เครื่องมือสื่อสารแทบทุกชนิดไร้ความหมายโดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือช่องทางอินเทอร์เน็ต นี่ไม่ใช่การคาดเดาแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว นั่งคือ เหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ วิทยุสมัครเล่น เป็นเครื่องมือสื่อสารเพียงอย่างเดียวที่สามารถส่งข้อมูลไปยังประชาชนได้ นายวรรณะ เศรษฐพงศ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เขต 11 ภูเก็ต กล่าวว่า หลังจากวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติครั้งล่าสุดที่ผ่านมา พบว่า สิ่งที่มีความสำคัญที่สุด และต้องต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงมาดูแลรับผิดชอบ มีทั้งหมด 4 เรื่อง คือ 1. วิทยุสมัครเล่น 2. การสื่อข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส แจ้งเตือนประชาชน 3. การใช้โซเชียลมีเดีย และ 4. การสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการกระจายข้อมูล ขณะที่ นายณรงค์ เหมประพันธ์ นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย จ.ภูเก็ต กล่าวว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวเมื่อช่วง เม.ย.2555 ที่ผ่านมา และมีผลกระทบกับบริเวณภาคใต้หลายด้าน โดยพบว่าอุปสรรคของการแจ้งเตือนข่าวสารไปยังประชาชน คือ ขาดแคลนอุปกรณ์ และระบบการส่งสัญญาณด้อยคุณภาพ เพราะต้องมีประจำทุกช่องความถี่ โดยเฉพาะ รีพีทเตอร์ (Repeater) ซึ่งเป็นตัวส่ง-รับสัญญาณ และกระจายสัญญาณให้กว้างไกลยิ่งขึ้น และรถโมบายด์เคลื่อนที่ รวมทั้งการติดตั้งที่ต้องขึ้นอยู่กับภูมิประเทศด้วย โดยจะติดตั้ง ทั้งหมด 3 จุด ได้แก่ หาดกะตะ หาดบางเทา และหาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา และทำให้ประชาชนรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมด “รีพีทเตอร์ ต้องมีวิทยุตั้งโต๊ะ รถเคลื่อนที่โมบายด์ ที่ต้องกระจายไปยังจุดอับสัญญาณ เพื่อเป็นการเชื่อมช่องสัญญาณให้ดีขึ้น และเพิ่มช่องความถี่วิทยุด้วย” นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย จ.ภูเก็ต กล่าวนายณรงค์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ยอมรับว่าประชาชนส่วนใหญ่รับฟังข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์เป็นหลัก ซึ่งเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ไฟฟ้าจะไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นวิทยุสื่อสารจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งให้การกระจายข้อมูลข่าวสารนายสันติภาพ เสนะสุขุม นายสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย จ.ภูเก็ต อธิบายว่า และหากประเมินความพร้อ โดยผ่านขั้นตอนการรับฟังข้อมูล และกระจายข่าวไปยังประชาชนนายสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย จ.ภูเก็ต อธิบายต่อว่า แม้ว่าการแจ้งเตือนไปยังประชาชนจะสามารถดำเนินการได้ในเวลาเพียงไม่นาน แต่บางครั้งยังติดที่ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2550 ที่จำกัดคลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณ ซึ่งอยากให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาทบทวน และอะลุ่มอล่วยในยามเกิดวิกฤติ อีกทั้ง อยากให้มีการซ้อมเพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย ขณะที่ จ.ภูเก็ต มีนักวิทยุสมัครเล่นจำนวน 4 พันแม้ว่าอุปกรณ์ขณะนี้ จะยังไม่เพียงพอกับการแจ้งข่าวสารอย่างทั่วถึงให้กับประชาชน แต่ในยามเกิดครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ประชาชนกว่า 70 คน ได้รวมตัวเป็นอาสาสมัครโดยไม่มีปัจจัยเรื่องทรัพย์สินเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงขอให้พี่น้องประชาชนปลอดภัย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า บอร์ด กสท. จะร่างประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เข้าบอร์ดใหญ่ กสทช. ในวันพรุ่งนี้ (18 ก.ค.) พร้อมประกาศ จากนั้นไปประชุมร่วมศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติในวันที่ 24 ก.ค. ตามด้วยประชาพิจารณ์ร่าง กทม. ภาคกลางและภาคเหนือ ก่อนส่งกลับมาปรับแก้ก่อนผ่านบอร์ดร่างสุดท้าย โดยคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งระหว่างนี้จะประชุมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกับสื่อมวลชนและศูนย์เตือนภัยฯ ไปด้วยอย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดภัยพิบัติครั้งล่าสุด เมื่อช่วงเม.ย. 2555 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ลงพื้นที่และเรียกประชุมเพื่อหาทางออกและมาตรการป้องกัน รวมทั้งการแจ้งเตือนข่าวสารไปยังประชาชนให้เตรียมอพยพ โดยพบว่า การใช้วิทยุสมัครเล่น เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุด เมื่อเกิดเหตุ จึงรับปากว่าให้การสนับสนุนเรื่องดังกล่าวเต็มที่ โดยมอบหมายให้ทางสมาคมฯทำหนังสือรายงานส่งมายังนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แต่เป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้ว เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีความคืบหน้า คราวนี้คงได้แต่หวังว่าหลังร่างประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เข้าบอร์ดในวันที่ 18 ก.ค.นี้ แล้ว เรื่อง วิทยุสมัครจะมีความคืบหน้าบ้างไม่มากก็น้อย
www.thairath.co.th
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กสทช. ตื่นตัวแค่ช่วงแรกแล้วหายไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
นายเปรมชัย ใจกว้าง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า กสท ได้พัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ &quo...
-
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา เปิดเผยในการเสวนาประชาชนสัญจรครั้งที่ 11 "ขุมทรัพย์น้ำมันไท...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น