วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Luxellence Center ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ แก่องค์กรธุรกิจชั้นนำในไทย

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กับอนาคตประเทศไทย และการขับเคลื่อนประเทศสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ คุยกับซี.พี

ในปัจจุบันผู้บริโภคมีสิทธิเลือกซื้อสินค้าได้อย่างเสรีทั้งในด้านคุณภาพและ ราคา การเรียนรู้และพัฒนาสินค้าและบริการต่าง ๆในยุคโลกไร้พรมแดนสามารถกระทำได้ง่าย สำหรับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม และประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก มักจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ด้วยเหตุนี้ ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหลายประเทศ จึงหลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่ต้องต่อสู้ด้วยราคาเป็นหลักและหันมาส่งเสริม นโยบายเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” ซึ่งถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2001 โดย Mr. John Howkins ในหนังสือที่มีชื่อว่า “The Creative Economy: How People Make Money from Ideas”

ความสร้างสรรค์เป็นสินทรัพย์ที่มีล้นเหลืออยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากทว่าการแปรเปลี่ยนความสร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นการลงมือทำให้ได้คุณค่านั้น ยังมีน้อย หัวใจของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็คือ แนวคิดหรือแนวปฎิบัติที่สร้าง/เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้โดยที่ไม่ ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก แต่ใช้ความคิด สติปัญญา และความสร้างสรรค์ให้มากขึ้น

หลายคนเชื่อว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย เนื่องจาก เศรษฐกิจสร้างสรรค์นี้จะสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างกัน ภายในระบบเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาค และระดับจุลภาค ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถก้าวกระโดด ไปอยู่ในกลุ่มที่มีการเติบโตสูงของเศรษฐกิจโลกได้

ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของแวดวงธุรกิจ ยุทธศาสตร์ในการนำเสนอสินค้าและบริการให้ถูกจริตกับรสนิยมที่เปลี่ยนไปของ ผู้บริโภค จึงเป็นสมรภูมิใหม่ที่ทุกบริษัทต้องช่วงชิง นักธุรกิจจึงต้องหันมาทบทวนกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์สินค้าของตน เพื่อวางกลยุทธ์แบบใส่ใจที่จะแปรเปลี่ยนคุณค่ารูปธรรมของสินค้าที่แห้งแล้ง ให้กลายเป็นความรื่นรมย์เชิงนามธรรมที่กระทบใจผู้บริโภค การเติมเต็มคุณค่าสร้างสรรค์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ของบริษัทจะทำให้บริษัทที่ กำลังตีบตันในการเจริญเติบโตเพราะไม่สามารถหาลูกเล่นใหม่ๆมาดึงดูดใจผู้ บริโภค สามารถเดินทางเข้าสู่อาณาจักรของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่กำลังมาแรงได้อย่าง เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง

นับว่าเป็นเรื่องท้าทายจินตนาการสร้างสรรค์ของนักการตลาดและนักธุรกิจเป็น อย่างยิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้า เขาไม่ได้ซื้อเพียงแค่ “สินค้า” แต่เขาซื้อความรู้สึกและประสบการณ์รวมไปด้วย

“ผู้บริโภคไม่ได้สนใจของที่คุณต้องการจะขายให้เพียงอย่างเดียว แต่ที่สนใจจริงๆ คือ ของสิ่งนั้นช่วยเพิ่มหรือทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร ? ”

นักการตลาดจำเป็นต้องขยับฝีมือตัวเองเพิ่มขึ้นเพื่อเปลี่ยนจากสินค้าธรรมดาให้เป็นสินค้าเหนือธรรมดา

เราต้องหาทางสู้กับกระแสการลดราคาแต่ต้องไม่ใช่ด้วยวิธีการลดต้นทุนสินค้า เพียงอย่างเดียว สิ่งที่เราต้องการ คือ หาหนทางที่สร้างสรรค์และมีนวัตกรรมมากกว่านั้น เพื่อที่จะเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการของเรา ให้สมเหตุสมผลที่ลูกค้าจะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้านั้น

ด้วยเหตุนี้ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ หน่วยงานที่มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้สู่สังคม ภายใต้การบริหารงานของซีพีออลล์ จึงได้ก่อตั้ง Luxellence Center ขึ้นมาเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์บริการข้อมูลความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มแบบลักชัวรี่แบรนด์ แก่องค์กรชั้นนำและนักธุรกิจ เป็นพี่เลี้ยงให้นักธุรกิจในประเทศไทยสามารถแข่งขันได้บนเวทีการค้าโลก โดยเฉพาะการเตรียมตัวเพื่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้สินค้าไทยยืนหยัดได้ ทั้งในอาเซียนและทั่วโลก

Luxellence Center พร้อมให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ การวางแผนดำเนินงานด้านลักชัวรี่ แบรนด์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้แก่องค์กรธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านแฟชั่น จิวเวลรี่ นาฬิกา สุขภาพ ความงาม ฯลฯ นอกจากนั้นยังจะผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านลักชัวรี่ แบรนด์ รวมทั้งผลิตบุคลากรคุณภาพเพื่อทำงานในสายธุรกิจ ลักชัวรี่ แบรนด์ ไปพร้อมกันด้วย และในปีนี้ Luxellence Center เปิดหลักสูตรปริญญาโทการบริหารจัดการลักชัวรี่ แบรนด์ MBA in Luxury Brand Management รุ่นแรก ร่วมกับ สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส International Fashion Academy หรือ IFA Paris ผลิตบุคลากรป้อนให้กับตลาด เพราะประเทศไทยในวันนี้มีศักยภาพ แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้เท่านั้น

Luxellence Center จึงเป็นเสมือนองค์กรที่จะมาเปิดโลกทัศน์ด้านลักชัวรี่ แบรนด์ ให้กับสังคมไทย โดยหลักสูตรนี้มีการจัดการเรียนการสอนใน 3 ประเทศ ภายในระยะเวลาเกือบ 1 ปี คือ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (3 เดือน) นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน (3 เดือน) และกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (3 เดือน) เพื่อพัฒนาความสามารถ และศักยภาพของคนไทย สร้างบุคลากรคุณภาพป้อนตลาด ลักชัวรี่ ระดับโลก อันจะนําไปสู่ การส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจ ลักชัวรี่ แบรนด์ของไทยก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างมีชั้นเชิง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) จาก IFA Paris และยังได้รับประกาศนียบัตรจาก Luxellence Center อีกด้วย

หลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมา เพื่อเตรียมนักศึกษาให้มีความพร้อมที่จะสามารถบริหารงานทางด้านลักชัวรี่ แบรนด์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะความเป็นมืออาชีพในการวางแผนกลยุทธ์ การสร้างแบรนด์ การสื่อสาร การจัดการค้าปลีก การเข้าใจผู้บริโภค ภาษาและวัฒนธรรมจีนและฝรั่งเศส พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในโลกของตลาดสินค้า ลักชัวรี่ อีกทั้งยังมุ่งเน้นรูปแบบการเรียนรู้จากการทำงาน (Work-Based Learning) เป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้งานจากสถานประกอบการทางด้าน ลักชัวรี่ แบรนด์ ระดับโลก อย่าง Yves Saint Laurent, Celine, Estée Lauder และองค์กรชั้นนำอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงการตอกย้ำแนวคิดเรื่องการ สร้างมืออาชีพด้วยมืออาชีพ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้เชี่ยวชาญในด้านลักชัวรี่ แบรนด์ อย่างใกล้ชิด

เพราะกุญแจสำคัญสำหรับนักการตลาดแนว Luxury คือ ต้องอยู่เหนือความธรรมดาสามัญ สร้างประสบการณ์พิเศษให้แก่สินค้าของตน และใช้สินค้าของตนเป็นตัวสื่อความพิเศษนั้นออกมา การปรับกลยุทธ์การทำตลาดให้กับสินค้า โดยการมอบมูลค่าเพิ่มผ่านประสบการณ์แบบ Luxury เอาใจลูกค้า ถือว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเปิดตลาดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ผู้ประกอบไทยจะตกขบวนไม่ได้



www.matichon.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม