เรื่องของเชิ้ตดำ ถือเป็น ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ มาหลายปีแล้ว ยิ่งสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก เจริญเติบโตขึ้นมาก็ยิ่งส่งผลให้มีการจับจ้องผู้ตัดสินมากขึ้น ปีแรกๆเหตุการณ์ความรุนแรงในสนามจึงเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าความรุนแรงจากนักเตะ สตาฟฟ์โค้ช รวมไปถึงแฟนบอลบนอัฒจันทร์ จนนำมาซึ่งพฤติกรรมเลียนแบบนั้นคือ เมื่อไม่พอใจก็ตะโกนด่าอย่างสาดเสียเทเสีย บางคำไม่ควรเกิดขึ้นในสนามกีฬาก็เกิดขึ้นกับสนามฟุตบอล ด่าไม่หนำใจความรุนแรงก่อตัวขึ้นจนถึงขั้นจลาจล เรื่องแฟนบอลชกต่อยกัน เรื่องแฟนบอลรุมล้อมกรรมการ มีให้เห็นบ่อยครั้ง ในช่วงหลัง ทีพีแอล เน้นการลงโทษสโมสรมากขึ้น ก็ทำให้ลดความรุนแรงไปพอสมควร ซึ่งหลายสโมสรปรับตัวได้ดี และเน้นเหตุผลมากกว่าอารมณ์ จึงใช้ช่องทางในการยื่นเรื่องฟ้องร้องเป็นหลัก และส่งผลให้เกิดการลงโทษผู้ตัดสินตามมา โดยส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรงมากนัก แค่พักการทำหน้าที่ 3-4 นัดก็กลับมาใหม่ จนมาเกิดเครสตัวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการฟุตบอลไทยนั่นคือการใช้เครื่องจับเท็จมาตรวจสอบความบริสุทธิ์ของการทำหน้าที่เรื่องของเรื่องเกิดจากเกมไทยลีกวันที่ 20 พ.ค.เมื่อ ชัยนาท เอฟซี เจ้าบ้านเปิดบ้านรับ บีอีซี เทโรศาสน โดยมี มานพ ปานสาคร เป็นผู้ตัดสิน, สุนทร พอใจ ไลส์ 1, วราฤทธิ์ สุวรรณจิระ เป็นไลส์ 2 และ จอมทอง แวววับ ผู้ตัดสินที่ 4
เกมนี้เจ้าบ้านเอาชนะไป 2-1 แต่ว่ามีเหตุการณ์ก่อนจบครึ่งแรก เมื่อ เทโรฯ ทีมเยือนได้เตะมุม และ ธนากร ขำโขมะ โหม่งสกัดบอลเข้าประตูตัวเองทางหน้าข้างของตาข่าย แต่ให้โชคร้ายเมื่อตาข่ายสนามเกิดขาด ส่งผลให้ลูกบอลปลิ้นออกมาจากประตู โดย มานพ ปานสาคร ปฏิเสธไม่ให้ประตูแก่ เทโรฯ จบเกมนัดนี้ได้มีการนำภาพลูกเข้าประตูจังหวะนี้แล้วทะลุตาข่ายออกมาฉายซ้ำไปซ้ำมาทางสื่อทีวี จนนำมาซึ่งการก่นด่าของแฟนบอล ขณะที่ผู้บริหาร ก็ยื่นฟ้องต่อทีพีแอลทันที การตัดสินทำอย่างรวดเร็ว เพราะอยู่ในกระแสความสนใจของคนทั่วไป จากผลการตรวจสอบคณะกรรมการผู้ตัดสินยอมรับว่าลูกนี้ต้องได้ประตู แต่เมื่อผู้ตัดสินมองไม่เห็น ขณะที่ผู้ช่วยที่ 2 คือ วราฤทธิ์ สุวรรณจิระ ที่ควรจะเห็นก็ไม่เห็นเช่นกัน จึงตัดสินด้วยการลงโทษห้ามเปาทั้งสองคนทำหน้าที่ตลอดซีซั่น กรณีลงโทษแบบนี้นับว่ารุนแรงอย่างมาก เพราะเท่ากับตัดสิทธิ์การทำมาหากินของผู้ตัดสินไปโดยปริยาย ซึ่งแค่นั้นยังไม่พอ ทางคณะกรรรมการฝ่ายป้องกันแล้วปราบปรามการประพฤติมิชอบในวงการฟุตบอล หรือ คปบ. ที่มี เป็นประธานก้าวเข้ามารับเรื่องต่อ ด้วยการตั้งทีมงานพิสูจน์ว่า การทำหน้าที่ของสองคนมี่ส่วนเกี่ยวข้องกับการรับสินบนหรือไม่? นี่เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงอย่างมาก ซึ่งในประเทศที่มีกฎหมายรับรอง ถึงขั้นติดคุกกันเลยทีเดียว แต่ในบ้านเรา พ.ร.บ.กีฬาอาชีพยังไม่ออกจึงยังไม่มีกฎหมายรองรับ กระนั้น คปบ.ก็ต้องการที่จะพิสูจน์ เพื่อเป็นการป้อมปรามและเชือดไก่ให้ลิงดูถึงผู้ที่อยากจะจ้างล้มบอลในอนาคต มานพ ปานสาคร และ วราฤทธิ์ สุวรรณจิระ ต่างปฏิเสธข้อกล่าวหา และยินดีเข้าเครื่องจับเท็จของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง โดยหลังจากที่เข้าเครื่องไปครั้งแรก ก็ได้มีการเรียก มานพ ปานสาคร มาอีกครั้งเนื่องจากต้องการให้เกิดความชัดเจนก่อนที่จะแถลงยืนยัน และผลที่ออกมาปรากฏว่า ได้มีการกล่าวหา มานพ ปานสาคร ว่าพูดเท็จไม่ตรงกับความจริงจึงแสดงว่าโกหก ส่วน วราฤทธิ์ สุวรรณจิระ รอดตัวไป ถึงเวลานี้ "เปาก้าว" กลายเป็นจำเลยของสังคมไปแล้วจากเครื่องตรวจสอบที่ประมวลผลออกมา ซึ่งไม่ทราบว่ามันจะเชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ขนาดไหน แต่ว่ากรณีของ มานพ ก็ถูกเรียกมาเข้าเครื่องถึง 2 ครั้งมันก็ต้องมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติ เรื่องนี้ คปบ.หมดหน้าที่เพราะไม่อาจจับกุมหรือกระทำการอะไรได้ จึงส่งเรื่องไปยังสมาคมฟุตบอลฯที่จะพิจารณาต่อไป มานพ ปานสาคร ถือเป็นผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ในส่วนของผู้ช่วย หรือไลส์แมน ไต่เต้ามาตามลำดับ และปี 2009 ก็ติดไลส์ฟีฟ่ามาถึงทุกวันนี้ โดยในปี 2010 ได้โอกาสลงมาทำหน้าที่ตัดสินในสนามมากขึ้นจากนั้นจึงทำหน้าที่ทั้งเป่า และวิ่งไลส์สลับกันมา ด้วยผลที่เกิดขึ้น เท่ากับว่าเขาถูกลงโทษไปแล้วจากสังคม ส่วนความจริงจะเป็นเช่นไร ตัว มานพ ปานสาคร เท่านั้นที่จะรู้ดีที่สุด
www.siamsport.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น