สธ.เผยเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ที่พบในไทยยังไม่กลายพันธุ์ ยันทำงานเชิงรุกเพื่อรองรับการเฝ้าระวัง ติดตามป้องกัน ควบคุมโรคมือ เท้า ปากในไทยอย่างใกล้ชิด...เมื่อวันที่ 18 ก.ค. นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยขณะนี้ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้นำเรื่องนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายที่จะทำงานเชิงรุก เพื่อรองรับการเฝ้าระวัง ติดตามป้องกัน ควบคุมโรคฯ ในประเทศ เนื่องจากขณะนี้มีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง จึงได้มีมาตรการว่า ถ้าโรงเรียนใดมีนักเรียนป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก 2-5 คนในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่งสามารถให้ปิดห้องเรียนนั้นหรือถ้าโรงเรียนใดมีนักเรียนป่วยมากกว่า 2-5 ห้องให้ปิดได้ทั้งโรงเรียน เพื่อทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและควบคุมโรคไม่ให้ขยายวงออกไปนพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปากในประเทศไทยในปี 2551 พบเสียชีวิต 2 ราย, ปี 2552 เสียชีวิต 4 ราย, ปี 2553 ไม่พบผู้เสียชีวิต, ปี 2554 เสียชีวิต 6 ราย ส่วนในปีนี้พบผู้ป่วยแต่ไม่ถึงกับเกิดการระบาด ตั้งแต่ต้นปีพบสะสม 13,000 กว่าราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นพวกคอกซากี สายพันธุ์เอ และสายพันธุ์บี (Coxsackie A, B) พวกนี้มักจะไม่รุนแรง มีอาการไข้สูง มีตุ่มขึ้นในปาก มีผื่นบริเวณมือและเท้า อาจมีที่บริเวณก้นกบบ้าง จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วันก็จะหาย สถานการณ์โรคดังกล่าวอาจจะพบผู้ป่วยได้ต่อไปอีก 1-2 เดือนเนื่องจากเป็นฤดูกาลระบาด ส่วนเชื้อเอนทาโรไวรัส 71 ที่พบในประเทศกัมพูชาเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง และขณะนี้ยังไม่พบในประเทศไทย และเชื้อยังไม่มีปัญหากลายพันธุ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ในการควบคุมโรคในระดับจังหวัด กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอว่า ถ้าจังหวัดใดมีผู้ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากรายใหม่พร้อมกัน 10 รายในวันเดียวกัน ให้จังหวัดนั้นสามารถจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิเศษขึ้นได้เพื่อรณรงค์ป้องกัน ติดตามและดูแลเรื่องโรคมือเท้าปากในจังหวัดนั้นๆ โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธาน เป็นศูนย์ปฏิบัติการในระดับจังหวัด เพื่อที่จะประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับโรงเรียนที่ปิดโรงเรียนขณะ นี้มีรายงานว่ามีประมาณ 100 แห่ง การปิดบางแห่งไม่ใช่ว่าเกิดโรครุนแรงมาก แต่เป็นความระมัดระวังและให้ความสำคัญ เป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทั้งนี้ บางโรงเรียนอาจยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปิดก็ได้ และบางโรงเรียนอาจปิดเพราะมีผู้ปกครองของเด็กนักเรียนเรียกร้อง โดยโรงเรียนที่เข้าเกณฑ์ต้องปิดมีไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคของผู้บริหารโรงเรียน และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือภายในโรงเรียน ส่วนโรงเรียนที่ยังไม่ปิดขอให้อยู่ในดุลยพินิจของทางโรงเรียนว่าจะดูแลลูก หลานของเราให้ปลอดภัยได้อย่างไร จึงขอความร่วมมือจากผู้ปกครองทุกคน เพื่อช่วยกันทำให้เชื้อโรคมือเท้าปากหมดไป.
www.thairath.co.th
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ในไทยยังไม่กลายพันธุ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
นายเปรมชัย ใจกว้าง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า กสท ได้พัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ &quo...
-
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา เปิดเผยในการเสวนาประชาชนสัญจรครั้งที่ 11 "ขุมทรัพย์น้ำมันไท...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น