วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยูเอ็นเอดส์ ชมแผนสู้โรคเอดส์ของไทย ชี้สอดรับกับสหประชาชาติ

"วิทยา" โว ยูเอ็นเอดส์ ชมยุทธศาสตร์ชาติต่อสู้โรคเอดส์ไทย 2555-2559 ป่วย-ตายเป็นศูนย์ ย้ำ ทำงานสอดรับกับองค์การสหประชาชาติ

วันนี้ (10 พ.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการหารือกับ พญ.นาฟิส ซาดิค (Dr.Nafis Sadik) ที่ปรึกษาพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติและผู้แทนพิเศษด้านเอชไอวีเอดส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยูเอ็นเอดส์) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านนโยบายการแก้ไขปัญหาเอดส์ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า พญ.นาฟิส ได้ ชื่นชมผลงานการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ตลอดช่วง 28 ปีของประเทศไทย ที่ประสบผลสำเร็จยอดเยี่ยม และไทยยังเป็นประเทศต้นๆ ในโลก ที่ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติฉบับ พ.ศ.2555-2559 เป็นแผนที่ดีเยี่ยม มีวิสัยทัศน์สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ 3 ประการ สอดรับกับนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยใช้งบประมาณทั้งหมด 43,790 ล้านบาท ภายในปี 2559 ไทยตั้งเป้าลดผู้ติดเชื้อรายใหม่เหลือไม่เกิน 4,900 ราย

นายวิทยา กล่าวต่อว่า สถานการณ์โรคเอดส์ของไทย จากการคาดประมาณตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ใน พ.ศ.2554 คาดว่า มียอดสะสม 1,148,117 คน ยังมีชีวิต 481,770 คน และคาดว่า จะมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ 10,097 คน พบมากในกลุ่มฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ร้อยละ 30-40 กลุ่มชายรักชาย ร้อยละ 10 พนักงานบริการชาย ร้อยละ 16 พนักงานบริการหญิง ร้อยละ 3 ในปี 2552 ไทยมีค่าใช้จ่ายในการดูแลป้องกันและรักษาโรคเอดส์ทั้งสิ้นจำนวน 7,208 ล้านบาท โดยร้อยละ 76 เป็นงบด้านการรักษาพยาบาลและเวชภัณฑ์ 5,483 ล้านบาท ที่เหลืออีกร้อยละ 14 เป็นงบการป้องกันโรค 987 ล้านบาท

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า แพทย์หญิง นาฟิส ได้ขอให้ไทยเพิ่มมาตรการในการลดปัญหาการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อสูงสุดในปี 2554 ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติฯ ของไทยในช่วง 5 ปีจากนี้ไป จะเน้น 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การแลกเปลี่ยนเข็มฉีดยาสะอาด (Drop in center) เพื่อป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ ขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้ว 19 จังหวัด เช่น กทม. เชียงใหม่ สงขลา ปทุมธานี 2.การรักษาด้วยเมทธาโดนให้เลิกเสพยา 3.การส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย และ 4.การลดการตีตราผู้ติดยา ทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพื้นที่นำร่องโครงการบำบัดยาเสพติดแบบองค์รวมดำเนินการทั้ง 4 เรื่องนี้ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และสงขลา

นอกจากนี้

manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม