'อะไร คือ ความเท่าเทียมกันทางสังคมในยุคดิจิตอล อะไร คือ ผลประโยชน์ของประชาชน อะไร คือ โอกาสของประเทศไทย' พบคำตอบได้ที่งานสัมมนา “มองมุมใหม่... ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี” ในวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08.30–15.30 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดี คณะนิติศาสตร์ และ ประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณกับธุรกิจ และการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า Digital Agenda Thailand เป็นโครงการหรือ Mission ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และ เอ๊ซ (ACE) ในฐานะผู้จัดงาน ได้ริเริ่มจัดขึ้นโดยมีเป้าประสงค์ในการเป็นตัวกลางที่รวบรวม ค้นหา และส่งผ่านความรู้ ประสบการณ์ และผลกระทบในทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับด้าน Digital จากทั่วโลกมาสู่คนไทย โดยถ่ายทอดผ่านกิจกรรมหลักคือการจัดสัมมนาให้ความรู้เชิงวิชาการและข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเทคโนโยลีดิจิทัลที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการพลิกโฉมประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา เช่นเดียวกับที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกได้นำเรื่องของเทคโนโลยีระบบดิจิทัลมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศมาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรปและอีกหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ผลสืบเนื่องมาจาก พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบและมีการแต่งตั้งสำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งอำนาจหน้าที่มิได้มีเพียงการจัดสรรคลื่นความถี่ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการหรือการประมูลคลื่นความถี่ 3G เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ทั้งระบบอีกด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐบาลที่เป็นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่จะต้องคืนคลื่นความถี่และสัญญาสัมปทานแล้วมาร่วมประมูลกันใหม่ ซึ่งผู้ประกอบการตลอดจนประชาชนทั่วไปควรรับทราบและศึกษาให้ถี่ถ้วน
ที่ผ่านมา ผู้ริเริ่มโครงการ Digital Agenda Thailand ได้จัดการสัมมนาผ่านมาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ “ทิศทางและโอกาสของธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ยุคใหม่” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 และครั้งที่สอง เรื่อง “มาตรฐานโทรทัศน์ระบบดิจิทัลสำหรับประเทศไทย” เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยได้รับการตอบรับจากสื่อมวลชนหลายแขนง ภาครัฐบาล นักธุรกิจ หน่วยงานจากต่างประเทศ รวมถึงประชาชานทั่วไปเป็นอย่างดี
อนึ่งทางคณะจัดงานได้เล็งเห็นถึง Satellite TV และ Mobile TV จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากและถึงขั้นจะเป็นเครื่องมือหลักในวงการการสื่อสาร เพราะภายในห้าปีต่อจากนี้ เทคโนโลยีระบบดิจิทัลจะต้องเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทย ทำให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และสามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก นอกจากนี้การเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรีของเทคโนโลยียังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีโอกาสเรียนรู้ ต่อยอดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมถึงยังเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และการวิจัยและพัฒนาถึงความเป็นเลิศของเทคโนโลยี กลไกตลาดที่จะเปลี่ยนไป ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จึงได้ร่วมกันจัดสัมมนาครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “มองมุมใหม่... ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี” ขึ้น โดยมี International Telecommunication Union (ITU) ร่วมเป็นวิทยากรหลักด้วยอีกครั้ง
ในงานสัมมนาครั้งนี้ ท่านจะได้รับทราบถึงความรู้เชิงวิชาการและข้อเท็จจริงอันจะเกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบของเทคโนโลยีระบบดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทย และเหตุผลที่ทำไม Satellite TV และ Mobile TV อาจจะมีเบทบาทเป็นตัวกลางในการสื่อสารและการเข้าถึงของข้อมูลมากที่สุดก็ว่าได้ ทั้งนี้ทาง ITU ก็จะมาเล่าถึงกรณีศึกษาต่างๆ ที่เกระทบกับความเท่าเทียมกันทางสังคมในยุค TV Digital ในหลายๆ ประเทศ ซึ่ง กสทช. ก็จะมาให้ความกระจ่างในเรื่องของบทบาทขององค์กรกำกับดูแลในมิติทางสังคม การจัดสรรคลื่นความถี่ใบอนุญาตและการส่งเสริม และยังรวมไปถึงวิทยากรชั้นนำที่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ และผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการ Satellite TV และ Mobile TV ยังมาร่วมถกถึงการมองมุมใหม่ หนทางในอนาคน กลยุทธ์ รูปแบบธุรกิจ และรูปแบบของการสื่อสารแนวใหม่ บนเวทีเดียวกัน ในวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08.30–16.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอ๊ช(ACE) โทร. 02-254-8282-3 โทรสาร 02-254-8284 หรือ อีเมล์ info.acethailand@gmail.com
www.newswit.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น