การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเต็งเส่งแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในฐานะแขกของรัฐบาลครั้งนี้ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ฉบับแรกว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในเมียนมาร์ โดยจะเป็นการย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่เมียนมาร์ โดยเฉพาะด้านการเกษตร , สาธารณสุข และการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้พม่าพร้อมสู่การเป็นประธานอาเซียนในปี 2557MOU อีกฉบับ ว่าด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เป็นการย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยที่จะสนับสนุนโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาร์ และพัฒนาระบบโลจิสติกเพื่อเชื่อมท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกทวายเข้าด้วยกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ที่มีมายาวนานถึง 64 ปีนั้น กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า อยู่ในระดับที่ดีมาก โดยเฉพาะช่วงหลังจากที่มีการเลือกตั้งในเมียนมาร์ เนื่องจากประเทศไทยได้สนับสนุนกระบวนการปรองดองและกระบวนการประชาธิปไตยในเมียนมาร์มาอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยเองก็เป็นคู่ค้าที่สัญอันดับ 2 ของพม่า ซึ่งทางรัฐบาลหวังว่า การที่ประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมาร์เดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ จะสามารถฟื้นการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation - JC) และคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Commission - JTC) ระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้อีกครั้งในเร็วๆนี้
หลังจากที่ว่างเว้นจากการประชุมกันมานานถึง 10 ปี (ประชุม JC ครั้งสุดท้ายปี 2545)ทั้งนี้ไทยกับเมียนมาร์มีความร่วมมือภายใต้กลไกทวิภาคีที่สำคัญ คือ1) คณะกรรมาธิการร่วม (Thailand – Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation - JC)2) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) 3) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee - JBC) และคณะกรรมการด้านเทคนิคว่าด้วยแม่น้ำที่เป็นเขตแดน 4) คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Commission - JTC)สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนนั้น ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของเมียนมาร์มาตลอด จนกระทั่งปีที่แล้ว (2554) ไทยเสียตำแหน่งให้แก่จีน โดยปัจจุบัน การค้าไทย – เมียนมาร์ มีมูลค่าอยู่ที่ 185,602 ล้านบาท เป็นมูลค่าที่เกิดจากการค้าชายแดนถึง 157,590 ล้านบาท หรือ 92% ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมด ส่วนด้านแรงงานนั้น ปัจจุบันมีแรงงานชาวเมียนมาร์ลงทะเบียนและผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 808,580 คน และมีการนำเข้าแรงงานเมียนมาร์อย่างถูกกฎหมาย ทั้งหมด 101,094 คน (ข้อมูลเดือน ม.ค. 2555) ยังเหลือแรงงานที่จดทะเบียนแล้วรอการพิสูจน์สัญชาติอยู่อีก 1,348,094 คน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาร์มีศูนย์พิสูจน์สัญชาติฝั่งเมียนมาร์ อยู่ที่เมืองเมียวดีและท่าขี้เหล็ก และในฝั่งไทยอยู่ที่จังหวัดระนอง โดยฝ่ายเมียนมาร์จะเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทยอีก 5 แห่ง ได้แก่ ที่ จ.เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ขณะที่โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับไทยนั้น บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ ได้ลงนามกับการท่าเรือเมียนมาร์ในกรอบความตกลงเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคม (ถนน รถไฟ สายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซ/น้ำมัน เชื่อมต่อระหว่างเมืองทวายกับ จ.กาญจนบุรี) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 พร้อมกับได้จัดตั้งบริษัท Dawei Development Co.,Ltd. (DDC) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งฝ่ายไทยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันตกกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เพื่อเตรียมการในฝั่งไทยให้พร้อมรองรับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายฯ
www.krobkruakao.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น