วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พบชาวไทยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง- ตายอันดับ 3

ศาสตราจารย์แพทย์หญิง สุมาลี เกียรติบุญศรี (กลาง) หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ (ขวา) ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายแพทย์รัตน์ เชื้อชูวงศ์ (ซ้าย) แพทย์ที่ปรึกษา บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแถลงข่าวเผยผลการสำรวจล่าสุดจาก “ระบาดวิทยาและผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในทวีปเอเชีย” (Epidemiology and Impact of COPD in Asia’ survey หรือ EPIC Asia Survey) พบว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ทว่าผู้ป่วยส่วนมากกลับยังไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคนี้ จึงไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม และพร้อมเตือนคนไทยว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคร้ายอันเป็นภาระหนักของผู้ป่วยในทวีปเอเชีย โดยโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก เนื่องจากปอดถูกทำลายและเกิดอาการอักเสบ โรคกลุ่มนี้ยังเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่กว่า 65 ล้านคนทั่วโลก ปัจจุบัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของโลก และอาจขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2573 อีกด้วย โดยในปี 2548 นั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทุกสาเหตุทั่วโลก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกเสียจากว่าจะมีการจัดการป้องกัน และรณรงค์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะพฤติกรรมสูบบุหรี่ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของโรค

www.newswit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม