13 มิ.ย.55 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวถึงความสำเร็จในการพัฒนาธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนแห่งแรกของประเทศไทย ณ ที่ห้องประชุมตึกนวมินทราชินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศ.กิตติคุณ นพ.ประมวล วีรุตมเสน และ รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ จากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.กิตติคุณ นพ.ประมวล เผยว่า เมื่อปี 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการวิจัยเด็กหลอดแก้วเป็นแห่งแรก จากนั้นได้มีเก็บตัวอ่อนเพื่อการวิจัยและพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งได้วิจัยเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ และได้มีการจัดตั้งเป็นธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนแห่งแรกในประเทศไทย
ด้าน รศ.นพ.กำธร เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สามารถสร้างสายพันธุ์แรกในปี 50 จนกระทั้งตอนนี้ได้ พัฒนาถึง 5 สายพันธุ์ และมีการลงทะเบียนของสายพันธ์ใน The European Human embryonic stem cell registry ซึงเป็นประเทศที่สองรองจากสิงคโปร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถคิดค้นจนประสบความสำเร็จในการทดลองศึกษาวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) สายพันธุ์ไทยเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และในขณะนี้มีการจัดเก็บไว้เซลล์ ประมาณ 10 ล้านเซลล์ ในอุณหภูมิ-196 องศาเซลเซียส ที่ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์
รศ.นพ.กำธร กล่าวต่ออีกว่า เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ ถือเป็นสารตั้งต้น หรือเซลล์บริสุทธิ์ที่สามารถแปลี่ยนแปรเป็นเซลล์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ที่มีกว่า 200 เซลล์ได้ โดยมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง ความสามารถในการนำมาใช้ที่ดีกว่าจึงเป็นความหวังในอนาคตต่อไป ว่าที่จะรักษาโรคบางโรคที่ที่ไม่สามารถรักษาได้ เช่น โรคทางสมอง เบาหวาน กล้ามเนื้อหัวใจตาย เอชไอวี มะเร็ง ซึ่งมีความแตกต่างจากสเต็มเซลล์เต็มวัย (Adult Stem Cell) ที่มีการใช้ในปัจจุบัน โดยได้จากไขสันหลังเม็ดเลือด หรือสายสะดือทารก ที่มีความจำเพาะในการรักษาเฉพาะส่วนผลสำเร็จครั้งนี้ เป็นการแสดงศักยภาพความสามารถทางการแพทย์ไทย ที่เทียบได้กับนานาประเทศ ร่วมทั้งไทยยังมีโอกาศทำวิจัยร่วมกับนานาชาติ ที่จะรักษาผู้ป่วยในอนาคตอีกทั้งยังสามารถนำเซลล์ไปใช้ในการศึกษากลไกพยาธิวิทยาการทดลองด้านเภสัชศาสตร์พิษวิทยาที่ศึกษากระบวนการออกฤทธิ์ และการนำพาสารไปสู่เซลล์เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง เช่น การให้ครีโมในผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถนำพาสารไปถูกจุดที่ต้องการรักษา เป็นต้น
อาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า อินเนอร์เซลล์แมส (inner cell mass) ที่มาจากตัวอ่อนอายุ 5-7 วัน หลังการปฏิสนธิเป็นแหล่งที่มาของสเต็มเซลล์โดยพัฒนามาจากตัวอ่อนมนุษย์ ซึงจากการ โดยตัวอ่อนที่ได้นำมาใช้เป็นส่วนที่เจ้าของไม่ต้องการใช้แล้ว หรือถูกทิ้ง หรือมีความไม่สมบูรณ์ และนำมาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเป็นอมตะ ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำให้เซลล์ตัวอ่อนตาย ทั้งยังก่อประโยชน์ให้กับชีวิตคนและวงการแพทย์ ถือเป็นการพัฒนาให้เกิดคุณค่ามากกว่าถูกทำลาย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น