เมื่อไม่นานมานนี้ นายประทีป กีรติเรขา ผวจ.ศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายไกรราศ แก้วดี รอง ผวจ.ศรีสะเกษ และ นายวิทยา วิรารัตน์ กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านด้านกัมพูชาสัญจร ร่วมกับ นายพนะ อิงวร รอง ผวจ.อุดรมีชัย และตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง จาก 8 จังหวัดในประเทศกัมพูชา ซึ่งประเด็นหลักในการประชุมคือ การเตรียมการจัดงานใน วันที่ 14 มิ.ย.55 เดินรถขนส่งระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ที่ด่านผ่ายชายแดนอรัญประเทศปอยเปต และปัญหาในเรื่องที่เป็นอุปสรรคระหว่างธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งด้านการลงทุน การค้า ด้านโลจิสติกส์ รวมทั้ง ด้านการท่องเที่ยว และการร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนในไทย และกัมพูชา
นายประทีป กีรติเรขา ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในวันนี้ถือเป็นวันที่ดีวันหนึ่ง ระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ได้มีการพบปะพูดคุยกัน ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตก็จะมีปัญหากันตามแนวชายแดน โดยการพบปะหารือกันในครั้งนี้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหนทางในการแก้ไขปัญหาของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้มากขึ้น ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการปรึกษาหารือถึงการเตรียมงานในพิธีเปิดการเดินรถขนส่งระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ในวันที่ 14 มิ.ย.55 ที่จุดผ่านชายแดนอรัญประเทศปอยเปต สระแก้ว โดยมีฝ่ายไทย 40 คัน ฝ่ายกัมพูชา 40 คัน ซึ่งงานเป็นไปได้ด้วยดี อาจจะมีเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มขึ้น ฝ่ายละ 150 คัน เพื่อมุ่งหวังจะได้รับความสนใจในการเดินทางท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางเยี่ยมชมวัฒนธรรมทั้งของประเทศไทย และประเทศกัมพูชา
โดยตามปกติ ไทยและกัมพูชาได้มีการพบปะหารือร่วมกันมาโดยตลอด ทั้งที่ใน จ.อุบลราชธานี จ.บุรีรัมย์ และในครั้งนี้อยู่ที่ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งในการเปิดการเดินรถเชื่อมกันระหว่าง 2 ประเทศนั้น ถือได้ว่าเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศอีกด้วย ซึ่งที่ในอดีตการขนส่งสินค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ เป็นลักษณะการขนส่งตามแนวชายแดนเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถขนส่งภายในประเทศได้ โดยการเปิดการเดินรถร่วมกันในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย สามารถที่เดินรถรับ-ส่งสินค้าถึงสถานที่ภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 มิ.ย นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่เริ่มให้บริการเดินรถและ เปิดรถขนส่งระหว่างไทย-กัมพูชา โดยกำหนดให้ไว้ว่าฝ่ายละ 40 คัน ไทย 40 คัน กัมพูชา 40 คัน ซึ่งไทยจะเน้นในส่วนของรถบรรทุกสินค้า 30 คัน เนื่องจากสินค้าจากไทยสู่กัมพูชานั้นมีจำนวนมากและเป็นที่ได้รับความนิยมในจำนวนมาก ส่วนขนส่งด้านรถโดยสาร 10 คัน และฝ่ายกัมพูชาจะเน้นเป็นรถโดยสาร 30 คัน เป็นรถบรรทุกสินค้า 10 คัน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญานที่ดีในการเริ่มต้นด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นระหว่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย นายพนะ อิงวร กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น