นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าว “การซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมปีที่ผ่านมาและการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าประเทศไทยจะสามารถป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วมถือเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ”
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้สัมภาษณ์กับอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (OBG: Oxford Business Group) บริษัททำรายงานวิจัย จัดพิมพ์ และเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ว่าการใช้จ่ายในการซ่อมแซมหลังน้ำท่วมประมาณอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท หรือ 44.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นและมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายกิตติรัตน์เชื่อมั่นว่าแผนการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำในช่วงสองปีข้างหน้าที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ได้ออกมาถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
นายกิตติรัตน์ กล่าว "การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเช่นเดียวกับการฟื้นฟูน้ำท่วมถือเป็นประเด็นหลักของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)" พร้อมเสริม "การดำเนินการตามนโยบายบางอย่างเช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้องล่าช้าออกไปเล็กน้อยจากเดือนมกราคมเป็นเดือนเมษายน 2555 เพื่อให้ภาคธุรกิจ ได้มีระยะเวลาเพื่อการฟื้นตัวหลังจากที่น้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากแผนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำควรจะส่งผลกระตุ้นในเชิงบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ"
บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มของคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง จะปรากฏในรายงาน : ประเทศไทยปี 2555 (The Report: Thailand 2012) ซึ่งเป็นคู่มือเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศและโอกาสในการลงทุนฉบับใหม่ จัดพิมพ์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลักทรัพย์ธนชาต บริษัทติลลิกี่ แอนด์ กิบบินส์ และบีดีโอ ถือเป็นรายงานฉลองครบรอบสามปี ที่นำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติ พร้อมทั้งประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และทางธุรกิจ
นายกิตติรัตน์ ยังกล่าวถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะเริ่มในปี 2558 ที่จะส่งผลดีให้แก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก รวมถึงการเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้นและฐานการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และยังกล่าวต่ออีกว่า ประเทศไทยได้สร้างจุดแข็งของตัวเองขึ้นมา ซึ่งรวมถึงยุทธศาสตร์ที่ตั้งและชื่อเสียงในเรื่องศูนย์กลางอุตสาหกรรมในภูมิภาค เพื่อเตรียมการรวมกลุ่มประเทศอาเซียนที่เต็มรูปแบบ "การรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะเป็นผลดีทั้งในเรื่องของสินค้า การให้บริการและการดึงดูดคนให้เข้ามาในภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยมากขึ้น" พร้อมเสริม "เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนี้ รัฐบาลจึงได้มีการวางแผนในะปรับโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรวมกลุ่มอาเซียน."
มร. พอเลียช คูซินาส (Paulius Kuncinas) บรรณาธิการฝ่ายภูมิภาค บริษัท อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป มีความเห็นเช่นเดียวกับการเปิดพรมแดนทางเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งถือเป็นโอกาสทองที่ดีของประเทศไทยในการเติบโตในระดับภูมิภาค พร้อมกล่าว "ถึงแม้ว่าบางภาคธุรกิจ เช่น การธนาคารและโลจิสติกอาจได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น แต่เราคิดว่าภาพรวมของการรวมกลุ่มอาเซียนจะเป็นผลดีที่ทำให้มีประสิทธิภาพและการผลิตเพิ่มมากขึ้น"
มร. พอเลียช เสริมว่ารายงาน: ประเทศไทย 2555 จะพิจารณาจากการเรียนรู้จากน้ำท่วมในประเด็นหลัก เช่น การจัดการน้ำ การประกันภัย การก่อสร้างและโลจิสติก และยังรวมถึงการปรับตัวของธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายอีกด้วย
"อีกทั้งความเสี่ยงทางการเมืองแล้ว ภาคเอกชนถือว่ามีการดำเนินงานได้ในสภาวะที่ยากลำบากและยังได้เปรียบทางการแข่งขันภายใต้การเติบโตในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการเกษตร อิเล็กทรอนิกส์และภาคยานยนต์" พร้อมกล่าว "แม้ว่าการเติบโตของประเทศไทยในปีที่แล้วเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่เราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยสามารถอยู่บนทิศทางในการเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีเสถียรภาพทางระบบเศรษฐกิจมากที่สุด"
รายงาน : ประเทศไทยปี 2555 (The Report: Thailand 2012) มีการเตรียมการทำวิจัยในประเทศมากกว่าหกเดือน โดยทีมงานของนักวิเคราะห์จากโอบีจี รายงานฉบับนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเป็นแนวทางที่สำคัญในหลายแง่มุมของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคารและการพัฒนาภาคการผลิต นอกจากนี้ยังนำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจ โดยรายงานฉบับนี้มีทั้งรูปแบบตีพิมพ์และออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น