วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

.ผู้ประกอบการอุตสาฯ เรียกร้องมาตราฐานคุณภาพรับมือ เออีซี

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ต้องการทำมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย จึงได้มีการเรียกร้องไปยังสถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และสามารถดูแลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้

ขณะเดียวกันผู้รับเหมาก่อสร้างในกลุ่มประเทศยุโรปได้เข้ามาให้ความสนใจรับงานก่อสร้างในประเทศในเอเชียและอาเซียนมากขึ้น เนื่องมาเศรษฐกิจยุโรปมีปัญหา งานก่อสร้างภายในยุโรปลดลง ดังนั้น อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยต้องปรับตัวรับการแข่งขันนี้ นอกจากนี้ สถานการณ์การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทในบางพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น จึงต้องมีการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานยกมาตรฐานทักษะแรงงานให้สูงตามไปด้วย โดยต้องมีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง การนำเข้าแรงงานต่างชาติ เช่น พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย สมควรให้มีการต้องมีบริการดำเนินการจากภาครัฐ ซึ่งจะเกี่ยวกับนำเข้าแรงงานต่างชาติให้ถูกต้องตามกฎหมายในลักษณะ ONE STOP SERVICE

นอกจากนี้ สัญญาของการรับเหมาก่อสร้างที่ภาคเอกชนรับงานจากรัฐบาลนั้น หากเป็นสัญญาเกิดขึ้นก่อนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จากเดิม 217 บาทต่อวัน ซึ่งตอนนี้ก็จะมีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 ต้องการให้ภาครัฐพิจารณาช่วยเหลือในด้านของเงินชดเชยความผันผวนของต้นทุน หรือค่า K จากปัจจุบันกำหนดไว้ว่า หากต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 สามารถขอรับค่าชดเชยจากรัฐบาลได้และค่าเชยหากต้นทุนเพิ่ม ส่วนสัญญารับเหมาก่อสร้างที่ทำในหลังเดือนเมษายนปีนี้ ควรพิจารณาปรับราคากลางให้รวมต้นทุนค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันด้วย

นายอังสุรัสมิ์ กล่าวอีกว่า ควรจะมีการกำหนดจัดตั้งธนาคารเพื่อการก่อสร้างขึ้นในไทยอุตสาหกรรมก่อสร้างเนื่องจากไทยยังประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะรายที่เป็นเอสเอ็มอี ดั้งนั้นถ้าไทยมีธนาคารเพื่อการก่อสร้างก็จะสามารถดูแลอุตสาหกรรมนี้ เพราะทำให้เป็นอุปสรรคในการรับงานทั้งในและต่างประเทศ

ด้านนายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการ สถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างในไทย มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต ขณะที่ประเทศในอาเซียนด้วยกันมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 6

สำหรับการลงทุนก่อสร้างในต่างประเทศมีอยู่แล้ว ได้แก่ ประเทศลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับ โดยแต่ละวันต่างชาติเข้ามาติดต่อขอให้เข้ารับงานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรฐานของงานก่อสร้างยังเป็นอุปสรรคของการทำงาน ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในงานก่อสร้างบางงาน ส่วนนี้จะต้องได้รับการแก้ไขต่อไปและยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูงจนต้องนำเข้าจากต่าง

www.mcot.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม