วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สมาคมธรณีฯไทย จัดเสวนา บทบาทวิชาชีพธรณีวิทยาต่อภัยแผ่นดินไหว

เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2555 สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย จัดเสวนา “บทบาทวิชาชีพธรณีวิทยาต่อภัยแผ่นดินไหว” ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เข้าร่วมการอภิปรายในครั้งนี้ โดยมี นายทรงภพ พลจันทร์ นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ดร.ธนู หาญพัฒนพานิชย์ ที่ปรึกษา บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์,นายเลิศสิน รักษาสกุลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี, นายพัฒนา อโศกานันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และนายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี

 

 

สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย ในฐานะสมาคมวิชาชีพด้านธรณีวิทยา เป็นสื่อกลางและศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของวิชาชีพธรณีวิทยา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางธรณีวิทยาให้กับสังคมไทย ปัจจุบันประเทศไทยประสบกับภัยแผ่นดินไหว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นกว่าก่อน ซึ่งจะเห็นได้จากผลกระทบอาคารส่วนใหญ่ที่เป็นบ้านปูนก่ออิฐชั้นเดียวมีการแตกร้าวที่กำแพงบ้าน หรือดินหยุบ ทรุดตัว ดังนั้น สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย จึงมีการระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการด้านธรณีวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวมากที่สุดในประเทศไทย มาช่วยแก้ปัญหาเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ในครั้งนี้ได้มีการรวมบทสรุปนำเสนอให้กับรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1.เสนอให้สร้างหลักสูตรเกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ๆ และบรรจุไว้ให้นักเรียนได้ศึกษาตั้งแต่ระดับประถม ต่อเนื่องกันมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น ในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร สร้างองค์ความรู้ให้เป็นหลักสูตรที่สามารถใช้ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก

2.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว มีนักวิชาการจากหลายองค์กรออกมาแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่าแนวคิดของใครถูกต้อง จึงมีการนำเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวโดยตรง ที่ชัดเจนมีความมั่นคง ตลอดจนสสนับสนุนงบปะมาณด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น องค์กรนี้จะเป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

3.เสนอให้มีการเพิ่มเติมกฏหมายรัฐธรรมนูญ หมวดที่ว่าด้วยนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าประชาชนมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ซึ่งหากเพิ่มกฏหมายในข้อนี้ประชาชนจะได้รับสิทธิครอบคลุมทุกภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งในกฏหมายรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน

4.ควรมีศูนย์กลางความรู้ของภัยแผ่นดินไหว กรมทรัพยากรธรณี สถานีวัดแรงสั่นสะเทือน เพื่อประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง

5.จัดตั้งให้สมาคมธรณีวิทยแห่งประเทศไทย เป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของภัยแผ่นดินไหว

6.เสนอให้นักวิชาการและนักวิจัยมาดูผลงานทางด้านวิชาการเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวร่วมกัน เพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะนำไปสู่การนำผลงานด้านวิชาการฉบับนั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

7.เสนอจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยระดับเมืองเป็นแผนที่แสดงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยในการเกิดแผ่นดินไหวพื้นที่ตามรอยเลื่อนที่มีพลังต่าง ๆ ควรมีการสำรวจให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น แผนที่จะมีประโยชน์ในการพัฒนการเมือง การวงผังเมืองและอาคาร ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงแผนที่เสี่ยงภัยในระดับประเทศเท่านั้น

8.เสนอให้มีการติดตั้ง Geology GPS เพิ่มเติมเพื่อจะได้รับข้อมูลไปปรับปรุงให้เกิดความทันสมัยและมีความแม่นยำมากขึ้น



www.newswit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม