กระแส AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มาแรงอยู่ในขณะนี้ ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตื่นตัวจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อม ตั้งแต่การทำความเข้าใจกับประชาชนในวงกว้างว่า AEC คืออะไร จะเกิดขึ้นเมื่อไร การทำความรู้จักกับวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศในกลุ่ม ผลดีและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะ 7 อาชีพ และ แรงงานในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานประเภทใดบ้าง ในปี 2558
คำถามคงจะเป็นว่า ทำไมต้องมีการพูดถึงหรือกล่าวถึงเศรษฐกิจใต้ดิน จากการศึกษาหรือการรวบรวมข้อมูลในประเทศต่างๆ พบว่า ?ทุกประเทศล้วนมีเศรษฐกิจทั้งบนดินและใต้ดินดำรงอยู่ทั้งสิ้น แต่จะมีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันเท่านั้น? เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเภทถือว่าเป็นเศรษฐกิจที่มีการเติบโตคู่ขนานกันไป
หมายถึงในกิจกรรมที่ต้องมีการหลบซ่อนอาจจะเป็นได้ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ดำเนินการ เช่น การค้ายาเสพติด การค้าบริการทางเพศ หรือการค้ามนุษย์ เป็นต้น หรือเป็นกิจกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ดำเนินการได้แต่มีกฎข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น ต้องเสียภาษี ต้องมีมาตรฐานในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ เป็นต้น แต่กิจกรรมเหล่านี้จะหลีกเลี่ยงการดำเนินการตามกฎข้อบังคับดังกล่าว เช่น การผลิตที่หลีกเลี่ยงมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม การเปิดสถานบริการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ การผลิตสินค้าที่เลียนแบบ ปลอม หรือละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
จากการศึกษาของกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ในยุโรปซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ Schneider ทำการประมาณการขนาดของ Shadow Economy หรือเศรษฐกิจเงาของประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 100 กว่าประเทศ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีมาแล้ว พบว่าขนาดของเศรษฐกิจเงาของประเทศต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับขนาดของจีดีพีของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
การประมาณการขนาดของเศรษฐกิจใต้ดินหรือเศรษฐกิจเงาพบว่า ขนาดของเศรษฐกิจเงาต่อจีดีพีในกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูง อยู่ที่ประมาณร้อยละ 17 ของเศรษฐกิจที่เป็นทางการ ส่วนประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 35 โดยทั้ง 2 กลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ส่วนประเทศในกลุ่มที่เรียกว่า Transition คือกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกที่เปลี่ยนจากระบบสังคมนิยมเข้าสู่เศรษฐกิจแบบตลาดหรือทุนนิยมพบว่า ขนาดของเศรษฐกิจเงาเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่เป็นทางการ มีการเติบโตที่รวดเร็วกว่ามาก
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในตลาดมืดทั่วโลก ซึ่งรวบรวมอยู่ใน website HAVOCSCOPE พบว่ากิจกรรมที่มีมูลค่าสูงสุดคือ กลุ่มสินค้าปลอม เลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ตามด้วยอันดับสอง การค้ายาเสพติด อันดับสามคือ การพนันผิดกฎหมาย อันดับสี่ การค้าบริการทางเพศ อันดับห้า อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และอันดับหก การค้ามนุษย์และการซื้อขายอวัยวะมนุษย์ ทั้งนี้ มีการประเมินว่า กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นทั่วโลกประมาณ 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 50 ล้านล้านบาท) และการฟอกเงินประมาณ 120 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท)
โดยประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจใต้ดินสูง 10 อันดับแรกของเว็บไซต์นี้ เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เกือบทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เม็กซิโก สเปน อิตาลี ญี่ปุ่น แคนาดา อังกฤษ รัสเซีย และเยอรมนี ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยติดอันดับที่ 21
สำหรับข้อมูลขนาดของเศรษฐกิจเงาเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งข้อมูลมีอยู่เพียง 8 ประเทศ ขาดกัมพูชาและบรูไน งานศึกษาของ Schneider พบว่า
ในกลุ่ม 88 ประเทศ ที่มีขนาดของเศรษฐกิจเงาต่อจีดีพีใหญ่ที่สุด และเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนเฉลี่ยของทั้ง 88 ประเทศ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 35 ขนาดของประเทศไทยก็สูงกว่าระดับเฉลี่ยค่อนข้างมาก
จากข้อมูลที่ปรากฏใน website HAVOCSCOPE ขนาดของเศรษฐกิจใต้ดินไทยมาจาก การค้าบริการทางเพศ การพนันที่ผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด และการค้าสินค้าปลอม หรือละเมิดลิขสิทธิ์ตามลำดับ ซึ่งโครงสร้างของตลาดมืดในประเทศกลุ่มอาเซียนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยการค้าสินค้าปลอม หรือละเมิดลิขสิทธิ์ ถูกกล่าวถึงว่าเป็นปัญหาในทุกประเทศ ตามด้วยการขายบริการทางเพศและการค้ายาเสพติด เป็นปัญหาในประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน สินค้าหนีภาษีทั้งเหล้าและบุหรี่ ก็ยังเป็นปัญหาของบางประเทศ และสำหรับประเทศที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างมาก จะมีปัญหาเรื่องการลักลอบทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประมงและป่าไม้
ส่วนปัญหาเรื่องการพนันผิดกฎหมายเป็นประเด็นที่มีข้อมูลปรากฏเฉพาะประเทศไทย กล่าวเช่นนี้ คงไม่ใช่ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ไม่มี แต่ขนาดคงไม่เท่ากับประเทศไทย เพราะหลายประเทศมีการอนุญาตการพนันที่ถูกกฎหมายประเภทต่างๆ เช่น ในสิงคโปร์มีการอนุญาตการพนันที่ถูกกฎหมายหลายอย่าง เช่น บ่อนกาสิโน ล็อตโต และพนันฟุตบอล เป็นต้น
บางประเทศ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ก็มีการตั้งบ่อนกาสิโนตามบริเวณชายแดนที่ติดกับไทย ซึ่งคงไม่ใช่เกิดจากนโยบายของประเทศเหล่านี้อย่างเดียวแต่เกิดจากนักลงทุนเจ้าของบ่อนจำนวนมากตามบริเวณชายแดนเป็นนักลงทุนไทย ต้องการเปิดบ่อนตามชายแดนสำหรับลูกค้าจากประเทศไทย จึงไม่แปลกที่ขณะนี้จะเกิดทัวร์ขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าไป
ท่องเที่ยวยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีทั้งทัวร์ที่ต้องการเข้าไปท่องเที่ยวจริงๆ และทัวร์ที่ต้องการไปเข้าบ่อนพนัน
www.matichon.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น