วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส...


นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้ข้อมูลการเติบโตของสมาร์ทดีไวส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าจะมีจำนวนกว่า 117 ล้านเครื่องภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่ในประเทศไทยปัจจุบันมีมากกว่า 10 ล้านเครื่องแล้ว และปีนี้คาดว่าจะมีเพิ่มอีก 5 ล้านเครื่อง นอกจากนี้ยังมีการสำรวจว่าภายในอีก 12 เดือนข้างหน้าผู้บริโภค 30% ต้องการซื้อสมาร์ทโฟน และ 20% มีความต้องการใช้งานแท็บเล็ต

"เมื่อเห็นตัวเลขการเติบโตเหล่านี้ทางเอไอเอสในฐานะเซอร์วิสโพรไวเดอร์ จึงต้องทำการขยายอีโคซิสเต็มส์จากการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ มาเป็นทำงานร่วมกับเหล่านักพัฒนาโดยตรง จากเดิมที่มีคอนเทนต์โพรไวเดอร์ราว 250 − 300 บริษัท ก็จะขยายไปสู่หลักพันจนถึงหลักหมื่นรายในอนาคต"

สิ่งที่เหล่านักคิดผู้มีไอเดีย และเหล่านักพัฒนาที่มีฝีมือจะได้จากการเข้าร่วมในโครงการนี้คือ และผ่านการคัดเลือกคือฐานลูกค้าของเอไอเอสที่ปัจจุบันมีมากกว่า 34 ล้านคน ยังไม่นับรวมในเครือสิงเทลอีก 412 ล้านราย รวมถึงในกลุ่มที่พร้อมจะตอบรับแอปพลิเคชันเข้าไปสู่ในระดับภูมิภาค และจนถึง SingTel innov8 ซึ่งเป็นบริษัทที่รวมกลุ่มนักลงทุนในเครือของสิงเทลที่จะช่วยเข้ามาเป็นต้นทุนในการพัฒนาแอปฯจนผลิตออกมาสู่ตลาด

แนวคิดง่ายๆของโครงการ 'AIS The StartUP' คือการเปิดพื้นที่ให้เป็นเหมือนโรงเตี้ยม ให้เหล่าผู้ใช้ และนักพัฒนาได้เข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนกัน โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การสอนพัฒนาแอปฯ ให้เครื่องมือในการพัฒนาครอสแพลตฟอร์ม การเลือกใช้เครื่องมือในการผลิต การเข้าถึงอินฟราสตรัคเจอร์ ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข เมื่อเสร็จแล้วก็พร้อมวางจำหน่ายให้แก่ลูกค้าของเอไอเอส และกลุ่มพันธมิตรในเครือ

โดยนักคิดและนักพัฒนาที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถนำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจผ่านหน้าเว็บไซต์ http://www.ais.co.th/thestartup/ เมื่อได้รับการคัดเลือกก็จะนัดเข้ามาพูดคุยกับทีมงานของเอไอเอส ซึ่งในส่วนนี้ถ้าทางทีมงานเห็นว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ นอกจากการหาแนวทางการร่วมธุรกิจกับทางเอไอเอสแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เหล่านักพัฒนาได้นำไอเดียไปเสนอแก่นักลงทุนผ่านเครือข่ายของเอไอเอสด้วยเช่นกัน

นายปรัธนา กล่าวยืนยันในส่วนของการพัฒนาแอปฯว่า มีหลากหลายแนวทางความร่วมมือทางธุรกิจให้เลือก ตามความพึ่งพอใจ เพียงแต่เมื่อมีการร่วมทุนกันแล้วทางเไอเอส ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน เช่น อาจจะได้ใช้งานก่อนใคร มีฟีเจอร์พิเศษเฉพาะลูกค้าเอไอเอส แต่จะไม่จำกัดสิทในการขายให้แก่ผู้บริโภคทั่วไป

"โครงการนี้คือคาดว่าจะมีผู้เข้าเสนอผลงานสัก 200 − 300 ผลงาน และตั้งเป้าว่าถึงสิ้นปีน่าจะมีผลงานที่สำเร็จ 2-3 ชิ้น ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว ซึ่งถ้าถามว่ารายได้จากส่วนนี้ของเอไอเอสคืออะไร ก็คงหนีไม่พ้นรายได้ในการให้บริการดาต้าแก่ลูกค้าอยู่เช่นเดิม หรืออาจจะมีรูปแบบการทำตลาดอื่นๆในอนาคตก็เป็นได้"

manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม