วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไขปมเท็จ ผลประโยชน์ปิโตรเลียมของไทย

กระทรวงพลังงาน โดยอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (นายทรงภพ พลจันทร์) ได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย (30 พ.ค.55) เกี่ยวกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 22 แปลงในเร็วๆ นี้ พอสรุปได้ว่า

(1) การประมูลครั้งนี้ค่าภาคหลวง และภาษีปิโตรเลียมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมค่อนข้างมากก็ตาม เพราะผลประโยชน์ตอบแทนของไทยจากปิโตรเลียมเมื่อเทียบกับทั่วโลกอยู่ในระดับกลาง ทั้งที่แหล่งปิโตรเลียมของไทยมีขนาดเล็ก (2) ผลประโยชน์ตอบแทนต่อประเทศทั้งระบบ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลตอบแทนเป็นสัดส่วนรายได้ถึงร้อยละ 55-60 ผู้ประกอบการได้ผลตอบแทนเพียงร้อยละ 40-45 และ (3) ในปี 2554 รัฐบาลได้ผลตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียม 147,000 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าภาคหลวง 60,000-70,000 ล้านบาทและภาษีเงินได้ 80,000 ล้านบาท

ในบทความนี้ ผมจะใช้ข้อมูลจากเอกสารของกระทรวงพลังงาน และเอกสารจากหน่วยงานของรัฐบาลแคนาดามาแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลทั้ง 3 ข้อในคำสัมภาษณ์นี้เป็นความเท็จ ดังนั้น ถ้าสังคมไทยเพิกเฉยปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปตามแผนของกระทรวงพลังงานแล้ว ผลประโยชน์ที่คนไทยควรจะได้รับอย่างเป็นธรรมเช่นเดียวกับอารยประเทศ ก็จะหายไป

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับ “ผลประโยชน์ตอบแทนต่อประเทศทั้งระบบ” ว่าคืออะไรบ้าง โดยปกติ บริษัทที่ได้รับสัมปทานให้ทำการสำรวจ และขุดเจาะปิโตรเลียม (น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) จะต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของประเทศจำนวน 3 รายการ คือ หนึ่ง ค่าภาคหลวงในอัตราประมาณ 12.5% ของราคาที่ขายได้ (ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก-จะแสดงหลักฐานต่อไป) สอง ภาษีเงินได้ของบริษัทหลังจากหักต้นทุนค่าดำเนินการไม่เกิน 50% ของรายได้ (หลังจากหักค่าภาคหลวงแล้ว) ทั้งนี้ อัตราภาษีไม่น้อยกว่า 50% และสาม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (หรือโบนัส-รายการนี้เพิ่งบัญญัติขึ้นใหม่ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 4 ปี 2532 หมายเหตุ รายการนี้ใช้ในกรณีที่บริษัทมีกำไร มีอัตราการคำนวณที่ละเอียดยิบ ผมในฐานะที่เป็นอาจารย์คณิตศาสตร์อ่านแล้วยังรู้สึกงงๆ) ผลรวมของทั้งสามรายการนี้ เรียกว่า ส่วนแบ่งที่รัฐบาลได้รับ (government take) ตารางข้างล่างนี้แสดงข้อมูลต่างๆ ในปี 2548 และ 2553 โดยเริ่มต้นจากมูลค่าปิโตรเลียมที่ปากหลุม

manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม