วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย

ประชาธิปไตยอันอ่อนเยาว์คงอยู่เพียงสามปีเมื่อกองทัพกลับมามีอำนาจอีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2519 รัฐประหารเกิดขึ้นในวันเดียวกับการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยเพื่อต่อต้านอุบายของกองทัพในการนำเผด็จการกลับมา ประชาชนราว 40 คนเสียชีวิตและหลายร้อยคนบาดเจ็บ แต่วิธีการที่พวกเขาถูกสังหารนั้นเลวร้ายเกินบรรยาย นอกจากจะถูกสังหารโดยอาวุธหนักแล้ว บางคนถูกเผาทั้งเป็น ถูกข่มขืนและถูกแขวนคอ หลังจากนั้นศพของพวกเขายังถูกประชาทัณฑ์หรือลากไปทั่วสนามฟุตบอล ทุกอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในที่สาธารณะมีคนมุงดูหลายร้อยคน ผู้รอดชีวิตกว่าสามพันรายถูกคุมขังตั้งแต่หลายวันไปจนถึงห้าเดือน และนักศึกษา 19 ราย (รวมถึงผม) ถูกคุมขังสองปี ในปี 2521 เนื่องด้วยเหตุผลของการปรองดองสมานฉันท์ มีการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อยกเว้นการกระทำผิดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ นักศึกษาที่ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัว ผู้กระทำผิดได้รับการยกเว้นโทษราวกับว่าการสังหารหมู่ไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข้อเท็จจริงคือ เพื่อการปรองดองสมานฉันท์ มีการส่งเสริมให้ประชาชนลืมเหตุการณ์และปล่อยให้ความทรงจำนั้นเลือนลางไป เหตุการณ์นั้นไม่ถูกกล่าวถึงในที่สาธารณะเป็นเวลาหลายปีหลังจากนั้น และไม่เคยถูกบันทึกไว้ในหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ควบคุมโดยรัฐจึงถึงทุกวันนี้ ในขณะเดียวกับ ต้องขอบคุณระบบการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษเพราะผู้มีอำนาจหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ยังคงเสวยสุขกับเอกสิทธิ์ของพวกเขาหลายปีหลังจากนั้น บางคนมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ทางการเมืองอีกครั้งในปี 2535 เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาจะไม่ถูกนำตัวมาลงโทษ

www.prachatai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม