วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภูมิชีวิต วัคซีนแห่งชาติ

การให้วัคซีนเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในการป้องกันโรคและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ล่าสุดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (Influenza H1N1) ที่รุนแรงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆ ก็ได้นำวัคซีนมาใช้เพื่อป้องกันการระบาด ปัจจุบันได้พัฒนาจนถือว่ามีความปลอดภัยสูง โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปีของไทย จะต้องฉีดวัคซีนพื้นฐาน 10 ชนิด ป้องกันโรครวมทั้งหมด 14 ครั้ง เช่นวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ  ไอ-กรน บาดทะยัก โรคคางทูม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน ไม่รวม วัคซีนตามฤดูกาล  หรือวัคซีนอื่นเพิ่มเติมวัคซีน...คืออะไร...นพ.จรุง  เมืองชนะ ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ บอกว่า โดยปกติการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมี 2 วิธี วิธีแรกคือการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือที่เรียกกันเป็นภาษาหมอว่า “อิมมูโกลบุลิน” เป็นภูมิคุ้มกันที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคได้ทันทีส่วนวิธีที่สอง คือ การให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี้ ขึ้นเอง ซึ่งวิธีนี้อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน กว่าจะมีภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันโรคตามหลักวิชาการด้านการแพทย์  มีการแยกประเภทของวัคซีนโดยใช้วิธีการผลิตเป็นตัวจำแนก จะประกอบด้วยวัคซีน 3 ประเภทคือ 1. วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยนำพิษของเชื้อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์  แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ใช้สำหรับโรคติดเชื้อที่เกิดจากพิษของเชื้อ ได้แก่ โรคคอตีบ และโรคบาดทะยัก 2.วัคซีนเชื้อตาย คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัว หรือเฉพาะชิ้นส่วนของเชื้อโรคที่ตายแล้ว เช่น วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ 3.วัคซีนเชื้อเป็น คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคมาทำให้ฤทธิ์อ่อนลงจนไม่ทำให้เกิดโรค แต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิ คุ้มกันของร่างกายได้ เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม วัคซีนอีสุกอีใส เป็นต้นสำหรับประเทศไทย คุณหมอจรุง บอกว่า เพิ่งจะมีการประกาศวาระแห่งชาติด้านวัคซีน เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา เมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการของวาระแห่งชาติด้านวัคซีน และตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติขึ้น  ซึ่งขณะนี้กำลังทำ Road Map พัฒนาศักยภาพในการผลิตวัคซีนของไทย 5 ชนิด ที่อยู่ในนโยบายวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งเราควรผลิตเอง ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza) วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ–ไอกรน– บาดทะยัก–ตับอักเสบบี (DTP–HB) วัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบรุ่นใหม่ (JE)  วัคซีนป้องกันวัณโรคชนิดใหม่  (new TB vaccine) และ วัค-ซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue) นอกจากนี้ ยังมี วัคซีนป้องกันโรคเอดส์  (HIV Vaccine) ที่จะเพิ่มเข้ามาอีกด้วยหน่วยงานที่สามารถ ผลิตวัคซีนได้ในประเทศไทยปัจจุบัน คือ องค์การเภสัชกรรม สถาน-เสาวภา และ บริษัทร่วมทุน องค์-การเภสัชกรรม–เมอร์ริเออร์ชีว-วัตถุ จำกัด รวมทั้งกรมปศุสัตว์ที่มีโรงงานผลิตวัคซีนใช้สำหรับสัตว์อีก 13 ชนิดนพ.จรุง บอกอีกว่า อนาคตประเทศไทยควรจะผลักดันวัคซีนที่จำเป็นอีกหลายชนิดให้เข้าไปอยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ เช่น วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า  ซึ่งเป็นวัคซีนที่อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้เห็นชอบว่าควรนำวัคซีนนี้มาใช้ในเด็กไทยกลุ่มเป้าหมายทุกคน เนื่องจากมีเด็กป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนมาก หรือ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) วัคซีนป้องกันไข้เลือด ออก (Dengue) และวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ซึ่งอย่างหลังนี้ รัฐบาลเห็นชอบแล้วแต่ต้องต่อรองเรื่องของราคา ซึ่งยังค่อน ข้างสูงอยู่นอกจากการวิจัยและพัฒนาวัคซีนแล้ว ประเทศไทยเรายังมีระบบการเฝ้าระวัง ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน 19 ชนิด ที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่ง ล่าสุด พบว่ามีความปลอดภัยสูง โดยมาตรการเฝ้าระวังของประเทศไทย เป็น 1 ใน 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานโดยตลอดปี 2554 มีรายงานอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน 788 ราย ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น ปวด บวมจุดที่ฉีด มีรายงานเสียชีวิต 14 ราย แต่ผลการสอบสวนพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนสำหรับวัคซีนที่ปัจจุบันยังไม่อยู่ในรายการบัญชีวัคซีนพื้นฐานเบื้องต้นมี 10 รายการ คือ วัคซีนไอกรนชนิดใหม่ (Acel-lura pertussis) วัคซีนตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A) วัคซีนโรคฮิบ (Hib) ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในสมอง วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (Human Papillomavirus) วัคซีนโปลิโอชนิดใหม่ (Infectivated Polioyelitis) วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live Attenuted Japanese Encephalitis) วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมค็อก-คัส โรคปอดบวม (Pneumococcal Conju-gate) วัคซีนป้องกันอุจจาระร่วงในเด็ก (Ro-tavirus) และ วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella)

www.thairath.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม