วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นายกฯ สั่งติดตาม เศรษฐกิจยูโรโซน ห่วงเศรษฐกิจไทย

ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลได้รับคำสั่งจากนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรให้ติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบจากเศรษฐกิจยูโรโซน ตลอดเวลา  เพราะผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้เริ่มจะพ่นพิษ   การส่งออกของไทยตกลงฮวบฮาบ ตัวเลขการส่งออกตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนที่แล้ว ลดลงถึงร้อยละ 45 ต่ำที่สุด ในรอบ 6 เดือน สินค้าบางประเภท ที่เคยส่งออกเป็นอันดับ 1 อย่างข้าว เดือนที่แล้วเดือนเดียวลดลงไปถึงร้อยละ 59 ทั้งนี้ อาจจะ ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านอื่นๆด้วยความน่าลงทุนในบ้านเราเริ่มจะลดลงตามไปด้วย ทั้ง ปัญหา ทางด้านการเมือง ที่ยืดเยื้อปัญหาจาก   ภัยธรรมชาติ ในกลุ่ม ประเทศ อาเซียน  ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่น่าลงทุน ในอันดับ 4-5 แพ้เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า และอินโดนีเซีย อีกหน่อยลาว กัมพูชาก็คงแซงหน้า ถ้ายังทะเลาะกันไม่เลิกปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากค่าแรง แค่ประกาศค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ก็กลายเป็นข้ออ้างในเรื่องของต้นทุน ที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพและฝีมือกันแล้ว แรงงานไทยจะมีฝีมือที่ดีกว่าด้วยซ้ำการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเริ่มจะมีข้อจำกัด แต่ในพม่าและเวียดนาม กำลังขยายตัวไม่มีขีดจำกัด เงื่อนไขต่างๆ เปิดกว้างตลอดเวลาเชื่อว่าถ้ายังปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นในปัจจุบันอีกไม่เกิน 10 ปี ไทยจะถูกแซงหน้าอย่างไม่เห็นฝุ่นปัญหาเฉพาะหน้าจะมองข้ามไม่ได้คือวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ยกตัวอย่างข้อมูลจาก สมาคมกุ้งไทย ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา จีเอสพีของกลุ่มประเทศยูโร สมศักดิ์ ปณิตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย  ระบุว่าการส่งออกกุ้งของประเทศไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2555 มี ปริมาณรวม 9 หมื่น 2 พันตัน คิดเป็นมูลค่า 2 หมื่น 6 พันล้านบาท ปริมาณลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 อยู่ที่แสนกว่าตัน ตลาดอเมริกานำเข้าลดลงถึงร้อยละ 20 ทิศทางการส่งออกของไทยต่อไปนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ได้ประกาศปรับเปลี่ยน เกณฑ์การให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร หรือ จีเอสพี สินค้ากุ้งเป็น 1 ใน 57 สินค้าไทยที่ถูกตัดจีเอสพีระบบใหม่ กุ้งดิบจะต้องเสียภาษีในอัตราเต็มที่ร้อยละ 12 จากที่เคยเสียในปัจจุบันร้อยละ 4.2  กุ้งสุกกุ้งปรุงแต่งจากเดิมเสียอัตราภาษีที่ร้อยละ 7 ก็จะต้องเสียเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง มาเลเซีย ซึ่งทำเอฟทีเอกับอียูไปแล้ว เวียดนาม  จีน  อินเดีย  อินโดนีเซีย มีอัตราภาษีที่ได้เปรียบกว่าไทยมากผลกระทบถึงเกษตรกรเลี้ยงกุ้งและผู้เกี่ยวข้องในระบบกว่า 2 ล้านคน ผลกระทบกับการส่งออก ผลกระทบจากการถูกกีดกันทางด้านภาษี รัฐบาลควรจะคิดและหาคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่คิดจะแก้แต่ปัญหาเฉพาะหน้า.

www.thairath.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม