ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อกระบวนการนิติบัญญัติไทย ภายใต้สังคมพลวัตรในศตวรรษที่ 21 โดยได้หยิบยกผลงานการวิจัย หัวข้อการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นตัวอย่างในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการนิติบัญญัติไทย โดยศาสตราจารย์บวรศักดิ์ กล่าวว่า กระบวนการนิติบัญญัติสากลในประเทศไทยเริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2435 ซึ่งช่วงนั้นมีนักกฎหมายต่างชาติมาร่างกฎหมายของไทย หลังปี 2500 นักกฎหมายไทยเริ่มร่างกฎหมายเองอย่างจริงจัง พร้อมเสนอกฎหมายที่ดีในการปฎิรูปประเทศ คือ ต้องเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ,สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ,ประชาชนเข้าถึงง่าย ,มีระบบการตรวจสอบที่มีอำนาจ มีความทันสมัย และต้องมีกระบวนการนิติบัญญัติที่ดีในการออกกฎหมาย โดยกระบวนการยกร่างกฎหมายนั้น ยอมรับว่า ยังมีความล่าช้า แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย เพราะถ้าผ่านการพิจารณาอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น กฎหมายฉบับหนึ่งที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ 1ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้าเร่งพิจารณากฎหมายฉบับดังกล่าว ก็เชื่อว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เสนอผลงานการวิจัยเศรษฐศาสตร์การเมืองของกระบวนการนิติบัญญัติไทย มุมมองจากทฤษฎีเกม โดยระบุว่า จากทฤษฎีเกมสามารถวิเคราะห์เกมนิติบัญญัติของไทย อาทิ เกมคณะกรรมการกฤษฎีกา กับ คณะรัฐมนตรี กรณี ครม.มีความต้องการชัดเจนเป็นเกมการมอบงานตามปกติแต่กฤษฎีกามีดุลยพินิจน้อย เพราะ ครม.จะรับเฉพาะร่าง พรบ.ที่ปรับปรุงดีขึ้น ,เกมคณะกรรมาธิการวิสามัญ กับ สภาผู้แทนราษฎร โดยทั่วไปความต้องการของสภาฯเหมือน ครม. แต่สภาฯมีอำนาจสูงสุดในกระบวนการนิติบัญญัติตามการเมืองในระบบรัฐสภา และเกมรัฐบาล กับ ศาลรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีสิทธิวินิจฉัยขั้นสุดท้ายอย่างแท้จริงในทางปฎิบัติ แต่จะมีดุลยพินิจหรือมีอิสระในการตีความทางกฎหมายมาก และมีอำนาจอื่นนอกจากการตีความกฎหมายอย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยได้เก็บสถิติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจำนวน 335 ฉบับ ที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในช่วงปี 2548 ถึง 2553 พบว่า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร(1) ใช้เวลาในการร่างกฎหมายนานกว่ารัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลทักษิณ(1)เป็นรัฐบาลที่มีความมั่นคงจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกกฎหมายผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐบาลสามารถออกกฎหมายผ่านฝ่ายบริหารได้เลย สำหรับความต้องการของฝ่ายต่างๆ ในการเสนอร่างกฎหมาย ผู้วิจัยพบว่า หน่วยงานราชการมักต้องการพระราชบัญญัติที่เอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง และรัฐบาลไม่พบแรงจูงใจในการออกกฎหมายใหม่เว้นแต่ติดขัดกฎหมายที่มีอยู่เดิม ขณะที่สภาผู้แทนราษฎร ให้ความสนใจเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ประชาชน และมักแก้ไขให้ร่างพระราชบัญญัติกลับไปเหมือนร่างเดิมของคณะรัฐมนตรี ส่วนวุฒิสภา มีแนวโน้มการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติให้รัดกุม และสร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของรัฐบาล รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีความต้องการที่ใกล้เคียงกับหน่วยงานราชการ และตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากในคณะกรรมาธิการ
www.krobkruakao.com
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
บวรศักดิ์ เสนอกฏหมายปฏิรูปประเทศ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
นายเปรมชัย ใจกว้าง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า กสท ได้พัฒนาการบริการรูปแบบใหม่ &quo...
-
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา เปิดเผยในการเสวนาประชาชนสัญจรครั้งที่ 11 "ขุมทรัพย์น้ำมันไท...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น