วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประเด็นนาซา โดน!

ถึงแม้คณะรัฐมนตรีจะยังไม่พิจารณาโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซา) โดยสหรัฐขอใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง แต่ประเด็นความพยายามที่จะเข้ามาใช้สนามบินในประเทศไทยของสหรัฐก็ดูเหมือนยังไม่ยุติ ไม่ว่าจะแสดงตัวตนว่าเป็นประโยชน์ต่อสภาวะอากาศโดยรวมของภูมิภาคนี้ ไม่เกี่ยวกับทหารหรือไม่ก็ตาม บทบาทของความเป็น “ตำรวจโลก” ของสหรัฐ ก็ยังสร้างความหวาดระแวงให้แก่คนไทยจำนวนไม่น้อย รวมทั้งเพื่อนบ้านจีน ซึ่งอาจจะยังไม่มีปฏิกิริยาใดชัดเจน หากมองอย่างผิวเผินอาจเข้าใจได้ว่านี่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศปกติธรรมดาเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายโครงการ แต่หากมองอย่างสุดโต่งก็อาจมีคำถามได้ว่า เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยหรือไม่ และดีที่สุดสำหรับประเทศไทยก็คือการปฏิเสธไม่ให้สหรัฐใช้สนามบินซึ่งเคยเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลของสังคมไทย

 


สหรัฐได้เคยใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ภายในประเทศ ในช่วงสงครามอินโดจีน สนามบินอู่ตะเภาเป็นหนึ่งในฐานทัพสหรัฐในประเทศไทย ในช่วงปี 2516 ประกอบด้วยอู่ตะเภา ตาคลี อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม น้ำพอง สัตหีบ เขื่อนน้ำพุง โคราชและกาญจนบุรี โดยมีศูนย์บัญชาการใหญ่ และหน่วยจัสแม็กตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เครื่องบินสหรัฐประจำการอยู่ถึง 550 ลำ มีทหารสหรัฐในไทยนับแสนคน เครื่องบินและคนเหล่านี้มีภารกิจในการนำเครื่องบินไปทิ้สแปรตลีย์งระเบิดในลาว เขมร และเวียดนาม จนกระทั่งปี 2519 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทย สนามบินอู่ตะเภากลายเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง นอกจากนั้น สหรัฐยังมีฐานทัพในประเทศต่างๆ มากกว่าครึ่งโลก การใช้ฐานทัพในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ล้วนมีผลประโยชน์ตอบแทนทั้งสิ้น

มองในภาพความหวาดระแวงของต่างชาติ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นพี่เบิ้มในภูมิภาคนี้ จีนมีปัญหาเรื่องหมู่เกาะสแปรตลีย์ และสหรัฐมีนโยบายปิดล้อมจีน นักวิเคราะห์ทางการทหารอธิบายว่า ถ้าจีนเข้าครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีย์ได้ ก็เท่ากับว่าจีนสามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือที่สำคัญในทะเลจีนใต้ไว้ได้ ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ทั้งจีนและสหรัฐมีการซ้อมรบทางทะเลบริเวณทะเลจีนใต้ สหรัฐมีหลายประเทศร่วมซ้อมรบ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศไทย ในเวลานั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้เผยแพร่เอกสารประเมินแสนยานุภาพทางทหารของจีน ความตอนหนึ่งระบุว่า จีนกำลังพัฒนาแสนยานุภาพทางทหารเพื่อป้องปราม และเพื่อป้องกันไม่ให้สหรัฐเข้ามาแทรกแซงทางทหาร ในกรณีจีนเกิดความขัดแย้งทางทหารกับไต้หวัน ดุลแห่งอำนาจทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวันกำลังเอียงไปทางจีนมากขึ้น สหรัฐเชื่อว่าเป็นโอกาสทองของจีนที่จะขยายอำนาจ และสหรัฐเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายอิทธิพลของจีน

รัฐบาลโดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประธานคณะทำงานเรื่องนี้ ยืนยันว่า การใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นความร่วมมือทางวิชาการกับนาซา ซึ่งนาซาได้ดำเนินการเช่นนี้มาแล้วกับจีน เกาหลี และญี่ปุ่น แนวทางนี้เป็นความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐบาลและกองทัพก่อนหน้านี้ โดยมีการประชุมร่วมกันที่โรงแรมรอยัล คลิฟ พัทยา เมื่อต้นสัปดาห์นี้ แต่ในที่สุดรัฐบาลก็มิได้มีการพิจารณา มีประเด็นที่อาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะการตีความตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเสนอให้สภาพิจารณาก่อนหรือไม่ ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต้องการให้รัฐบาลแสดงความกล้าหาญในการตัดสินใจ มิให้เป็นฝ่ายตั้งรับเช่นกรณีการไม่ลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 อีก แต่ถ้าตัดสินใจเดินหน้า ก็อาจจะเป็นการชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้านได้

www.komchadluek.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม