วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธานี ยืดยัน ไม่มีเชฟร่อน แค่เพียงทีมงานวิทยาศาสตร์

กระทรวงการต่างประเทศ ยืนยัน โครงการสำรวจชั้นบรรยากาศของนาซ่า มีแค่เพียงหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยาของทั้ง 2 ประเทศเท่านั้น บริษัทเชฟร่อนไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับโครงการนี้
 

นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ เปิดเผยรายละเอียดของโครงการสำรวจการก่อตัวของเมฆในชั้นบรรยากาศครั้งนี้ว่า นาซ่าติดต่อผ่านสถานทูตสหรัฐฯในประเทศเข้ามาที่กระทรวงการต่างประเทศครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2554 (ปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์) หลังจากนั้นทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้เวลา 1 ปีกว่าในการหารือกับทั้งสหรัฐฯ และหน่วยงานภายในของประเทศไทยมาอีกถึง 5 รอบ โดยเฉพาะกับหน่วยงานด้านความมั่นคง , สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร , สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และกองทัพเรือเจ้าของพื้นที่จนได้ข้อยุติ และไม่มีหน่วยงานใดคัดค้าน เพราะเรื่องนี้ถือเป็นโอกาสของประเทศที่จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ก็มีบางหน่วยงาน เช่น สมช.ที่เสนอข้อห่วงกังวล 6 บางประเด็น ซึ่งฝ่ายไทยได้นำไปหารือและถามความชัดเจนจากนาซ่า และกลับมาพูดคุยกับ สมช.จนเกิดความกระจ่างหมดแล้วว่า การปฏิบัติจะมีแค่เพียงทีมงานด้านวิทยาศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา ของทั้ง 2 ประเทศเท่านั้น ไม่มีบริษัทเชฟร่อน หรือ บริษัทเอกชนอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะไม่มีการถ่ายภาพทางอากาศ หรือ สอดแนมแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย มีแค่เพียงการเก็บตัวอย่างเมฆ และฝุ่นละอองในอากาศขึ้นไปจนถึงชั้นบรรยากาศที่มีผลต่อระบบนิเวศและมรสุมเท่านั้น การปฏิบัติทุกอย่างต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทยก่อน และการขึ้นบินแต่ละครั้งต้องมีตารางบินชัดเจน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยขึ้นบินด้วยหากรัฐบาลไทยเห็นชอบ นาซ่าจะเริ่มทยอยนำอุปกรณ์และเครื่องมือเข้ามาปลายเดือนนี้ เพราะนาซ่าต้องการดำเนินงานภายในปีงบประมาณนี้ของสหรัฐฯ และต้องการสำรวจในช่วงมรสุม คือ ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน แต่ถ้ารัฐบาลไทยตัดสินใจช้า โครงการนี้ก็ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เสียหายอะไร แต่จะเสียโอกาสเท่านั้นส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ ม.190 นั้น

กรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ ได้พิจารณาเอกสารทางการทูตที่ต้องแลกเปลี่ยนระหว่างกันแล้วว่า ไม่มีเรื่องเขตแดน หรือ มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมของไทย จึงไม่น่าจะเข้าข่ายวรรค 2 ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ทั้งนี้ต้องรอการพิจารณาจากกฤษฎีกาก่อนทั้งนี้อธิบดีกรมสารนิเทศ ยืนยันว่า โครงการนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดือนทางเข้าสหรัฐฯในเดือนหน้า เพราะมีการพูดคุยกันมาตั้งแต่ปีที่แล้วสำหรับโครงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาค (HADR) ที่อู่ตะเภานั้น อธิบดีกรมสารนิเทศ ยืนยันว่า เป็นคนละเรื่องกัน เพราะโครงการ HADR เป็นโครงการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอความพร้อมของประเทศไทยในเวทีการประชุมอาเซี่ยน - UN ที่เวียดนาม เมื่อปี 2553 จึงได้มีการประสานกับรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งมีความพร้อมและเคยทำงานร่วมกับประเทศไทยอย่างใกล้ชิดเวลาเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคนี้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายไทยเองว่า จะให้เป็นความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ หรือ เป็นแบบพหุภาคี ระหว่างไทย , สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆในภูมิภาค จึงยังไม่มีการนำเข้า ครม.

แต่ในเบื้องต้นนั้น โครงการนี้เป็นเพียงการกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อรองรับการเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคนี้ในอนาคต ไม่ได้เป็นการตั้งศูนย์บัญชาการ , ฐานปฏิบัติการ หรือ ส่งเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศเข้ามาประจำที่อู่ตะเภาแต่อย่างใด และหากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น สหรัฐฯหรือประเทศอื่นๆยังส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาที่อู่ตะเภาไม่ได้จนกว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจะร้องขอมา

www.krobkruakao.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม